พ.ร.บ.คืออะไร Archives - Bolttech Blog - News & Updates Bolttech Blog - News & Updates Tue, 13 Dec 2022 06:38:09 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0.3 https://www.bolttech.co.th/blog/wp-content/uploads/2021/02/favicon.ico พ.ร.บ.คืออะไร Archives - Bolttech Blog - News & Updates 32 32 พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร? เรียกเคลมต้องทำอย่างไร? https://www.bolttech.co.th/blog/%e0%b8%9e-%e0%b8%a3-%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%95%e0%b8%b8%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%a1%e0%b8%9e-%e0%b8%a3-%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a3?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%259e-%25e0%25b8%25a3-%25e0%25b8%259a%25e0%25b8%2584%25e0%25b8%25b7%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%25b0%25e0%25b9%2584%25e0%25b8%25a3%25e0%25b9%2580%25e0%25b8%2581%25e0%25b8%25b4%25e0%25b8%2594%25e0%25b9%2580%25e0%25b8%25ab%25e0%25b8%2595%25e0%25b8%25b8%25e0%25b9%2581%25e0%25b8%25a5%25e0%25b9%2589%25e0%25b8%25a7%25e0%25b9%2580%25e0%25b8%2584%25e0%25b8%25a5%25e0%25b8%25a1%25e0%25b8%259e-%25e0%25b8%25a3-%25e0%25b8%259a%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%25a2%25e0%25b9%2588%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%2587%25e0%25b9%2584%25e0%25b8%25a3 https://www.bolttech.co.th/blog/%e0%b8%9e-%e0%b8%a3-%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%95%e0%b8%b8%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%a1%e0%b8%9e-%e0%b8%a3-%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a3#comments Tue, 05 Sep 2017 09:19:57 +0000 https://www.bolttech.co.th/blog?p=3127 มือใหม่หัดขับต้องรู้ !! พ.ร.บ.รถยนต์ และพ.ร.บ.จักรยานยนต์คืออะไร? ต่อพ.ร.บ.ให้ความคุ้มครองอะไรกับผู้ขับขี่ หากเกิดอุบัติเหตุจะเคลมค่ารักษากับพ.ร.บ.อย่างไร

The post พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร? เรียกเคลมต้องทำอย่างไร? appeared first on Bolttech Blog - News & Updates.

]]>
อ่านเร็วๆ
  • พ.ร.บ.รถยนต์ คือประกันรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Third Party Insurance) ที่มีขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปี 2535 โดยพ.ร.บ.รถยนต์ จะคุ้มครองเบื้องต้นถ้าเกิดอุบัติเหตุ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ประสบภัยอุบัติเหตุทางรถจะได้รับการรักษาพยาบาลในทันที
  • พ.ร.บ.รถยนต์จะออกค่าใช้จ่ายในการนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาลรวมถึงจ่ายค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น เมื่อเกิดอุบัติเหตุมีคนได้รับบาดเจ็บให้เบิกค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ. เป็นอันดับแรก แล้วค่อยเบิกสิทธิ์อื่นๆ เพราะแบบนี้เองพ.ร.บ. รถยนต์จึงเป็นกฎหมายภาคบังคับให้รถทุกคันทำ ก่อนที่จะต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ และถ้าไม่ทำพ.ร.บ.รถยนต์ ก็มีโทษคือโดนปรับได้ด้วยนะ
  • การต่อพ.ร.บ.รถยนต์ กับการต่อภาษีรถยนต์เป็นคนละเรื่องกันนะครับ ซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์แล้วต้องเอาไปต่อภาษีรถยนต์อีกทีนะ

หลายคนอาจจะยังสงสัย ว่า พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร  แล้วพ.ร.บ.รถยนต์ (Compulsory Third Party Insurance) หรือประกันรถยนต์ภาคบังคับต่างจากประกันรถยนต์ภาคสมัครใจยังไง หรือเป็นสิ่งเดียวกัน วันนี้ราเลยจะมาสรุปให้อ่านกันอีกรอบว่าเพราะอะไรพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปี 2535 จึงบังคับให้รถทุกคันที่วิ่งบนท้องถนน จะจดทะเบียนและต่อภาษีรถได้ต้องทำ พ.ร.บ.

พรบ-ดูแล-ค่ารักษา-พยาบาล-ทันที
ทั้งนี้ พ.ร.บ.รถยนต์ นั้นมีราคาเท่าไหร่ เราใช้ประโยชน์อะไรจาก พ.ร.บ.รถยนต์ได้บ้าง และการไม่ทำจะมีผลอย่างไร รวมถึงการเคลมที่หลายคนอาจจะนึกไม่ออกว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง  ซึ่งบอกได้เลยว่าการต่อพ.ร.บ.ตามที่กฎหมายกำหนดนั้นไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.รถยนต์ และพ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์ มีประโยชน์ต่อผู้ใช้รถใช้ถนนเอามาก ๆ เลยครับ

พ.ร.บ.คืออะไร?

พ.ร.บ. คือประกันภัยรถภาคบังคับตามกฎหมาย คือใน พ.ร.บ. ปี 2535 ได้ระบุไว้เลยว่า รถทุกชนิดต้องทำพ.ร.บ.ก่อนจึงจะต่อทะเบียนรถได้  แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ และต่อพ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ เพื่อดูแลความปลอดภัยในชีวิตของเรากันมากขึ้น อันที่จริงแล้วถือเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่เราควรจะได้รับการดูแลการรักษาพยาบาลในทุกกรณี เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ทุกเสี้ยววินาทีมีความสำคัญต่อชีวิตมากเลยครับ

พรบ-คืออะไร-ทำไม-ต้อง-ทำ-พ.ร.บ.
ตามด้วย 2 ข้อดีของการทำพ.ร.บ.รถยนต์ และพ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์  มีไว้พื่อดูแลค่ารักษาพยาบาลของทั้งคนที่อยู่ในรถคันที่เกิดอุบัติเหตุทั้งฝ่ายผิดและฝ่ายถูกหรือเราเป็นบุคคลที่ 3 ก็ตาม สิทธิพ.ร.บ.รถที่ต้องรู้ไว้ คือ

1.ค่าเสียหายเบื้องต้น

ไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าใครผิดใครถูกที่เราจะได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
รู้ยังพรบภาษี

  • ค่ารักษาพยาบาล (บาดเจ็บ จ่ายตามจริงไม่เกินวงเงิน) 30,000 บาท/คน
  • กรณีทุพพลภาพถาวร หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 35,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิตทันที (ค่าปลงศพ) 35,000 บาท/คน
  • ค่ากะโหลกศีรษะเทียม 35,000 บาท/คน

สรุป เบิกพ.ร.บ.ค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าใครผิดถูก รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท/คน (ข้อมูลอัพเดตวันที่ 1 เมษายน 2563)

2. ค่าสินไหมทดแทน

คือ เงินชดเชยที่จะได้รับจากพ.ร.บ.หลังการพิสูจน์ผิดถูกแล้ว และเป็นฝ่ายถูกเท่านั้นจะได้รับ

  • ค่ารักษาพยาบาลเบิกตามจริงหรือไม่เกิน 80,000 บาท
  • เงินชดเชยในกรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร รวมถึงค่ากะโหลกศีรษะเทียม 200,000-500,000 บาท
  • เงินชดเชยในกรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง รวมถึงกรณีเสียชีวิต 500,000 บาท
  • ค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีผู้ป่วยใน วันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วันรวม 4,000 บาท

สรุป จ่ายค่าสินไหมทดแทนเมื่อเป็นฝ่ายถูก รวมแล้วไม่เกิน 504,000 บาท/คน  (ข้อมูลอัพเดตวันที่ 1 เมษายน 2563)

หลักการของ พ.ร.บ. กรณีที่เกิดเหตุกับรถยนต์ 2 คันขึ้นไป

ผู้ได้รับบาดเจ็บจะได้รับการดูแลตามประกันของรถแต่ละคันอยู่แล้ว แต่ถ้ามีบุคคลที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้องให้แต่ละบริษัทร่วมกันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้กับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บครับ

ถ้าไม่ทำ พ.ร.บ.โดนปรับเท่าไหร่?

ก็จะมีความผิดตามกฎหมายจราจรและโดนค่าปรับไม่เกิน 10,000 บาทครับ  แน่นอนว่ารถคันนั้นก็จะไม่ได้ต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปีโดนปรับ 400-1,000 บาทครับ

เรียกเคลม พ.ร.บ. ต้องทำอย่างไร?

บริษัทกลางประกันภัยป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวกลางในการเบิกจ่ายค่าสินไหมต่างๆ ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา และมีสาขาอยู่ทั่วประเทศไทยเพื่อความสะดวกในการติดต่อของประชาชนทั่วประเทศ ส่วนในปี 2542 เป็นต้นมาก็สามารถรับประกันภัยเฉพาะรถมอเตอร์ไซค์ได้ รวมถึงเป็นสำนักงานประกันภัยรถผ่านแดนแห่งชาติในกรณีที่รถทะเบียนต่างประเทศต้องการนำมาขับขี่ในประเทศไทยด้วย (Thai National Bureau of Insurance)

เข้าเรื่องขั้นตอนการเคลม พ.ร.บ.รถยนต์ เมื่อเราเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลให้แจ้งสิทธิ์ที่เราต้องการใช้ ในกรณีที่สำรองจ่ายไปก่อนให้ติดต่อที่บริษัทกลางประกันภัย ซึ่งจะต้องเตรียมเอกสารต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ใบแจ้งความ (บันทึกประวัน) ที่สถานีตำรวจไว้เป็นหลักฐาน
  • ใบรับรองแพทย์พร้อมใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ที่ประสบเหตุ หรือใบมรณะบัตร
  • สำเนาบัตรประชนชนของทายาท

แล้วติดต่อที่บริษัทกลางประกันภัยโดยเราจะได้รับเงินชดเชยตามสิทธิ์ภายใน 7 วันทำการ เมื่อยื่นเอกสารให้ครบถ้วนกรณีถ้าค่ารักษาเกินวงเงินก็จะมีการหักค่าใช้จ่ายจากสิทธิอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น สิทธิประกันสังคม สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค, สิทธิบัตรทอง หรือแม้แต่ประกันสุขภาพและประกันชีวิตตามลำดับที่เราแจ้งครับ อย่าลืมว่าระยะเวลาในการขอใช้สิทธิ์ พ.ร.บ.ของเรา ภายใน 180 วันหลังจากวันที่เกิดเหตุ  นะครับ 

แต่ถ้าเราโดนชนแล้วหนี ก็สามารถติดต่อรับความช่วยเหลือได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยอ่านเพิ่มได้จากบทความก่อนหน้าได้เลย

อย่างที่บอกนะครับ ประโยชน์หลักของการทำ พ.ร.บ.รถยนต์หรือประกันรถยนต์ภาคบังคับนั้น คือการดูแลค่ารักษาพยาบาลคนเจ็บเมื่อเกิดเหตุทันที ทำให้เราเห็นความสำคัญของการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ และการต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์มากขึ้น ว่าเป็นการจ่ายเงินเพื่อซื้อความปลอดภัยในอนาคต หรือเป็นการเฉลี่ยความเสี่ยงภัยซึ่งถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการลงทุนเพื่อความปลอดภัยด้วยครับ ซึ่งระบบของเราก็มี วิธีการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ ที่รวดเร็ว สะดวก รับความคุ้มครองทันที!

คุณสามารถต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์
ไม่ต้องรอ!! รับกรมธรรม์ผ่านทางออนไลน์
(นำไปต่อภาษีได้ทันที)

ซื้อประกันออนไลน์

The post พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร? เรียกเคลมต้องทำอย่างไร? appeared first on Bolttech Blog - News & Updates.

]]>
https://www.bolttech.co.th/blog/%e0%b8%9e-%e0%b8%a3-%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%95%e0%b8%b8%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%a1%e0%b8%9e-%e0%b8%a3-%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a3/feed 4
พ.ร.บ. รถยนต์ทำไมกฎหมายต้องบังคับให้ทำ? https://www.bolttech.co.th/blog/%e0%b8%9e-%e0%b8%a3-%e0%b8%9a-%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b8%8e%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%97%e0%b8%b3?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%259e-%25e0%25b8%25a3-%25e0%25b8%259a-%25e0%25b8%25a3%25e0%25b8%2596%25e0%25b8%25a2%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%2595%25e0%25b9%258c%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%25b3%25e0%25b9%2584%25e0%25b8%25a1%25e0%25b8%2581%25e0%25b8%258e%25e0%25b8%25ab%25e0%25b8%25a1%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%25a2%25e0%25b8%2595%25e0%25b9%2589%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2587%25e0%25b8%259a%25e0%25b8%25b1%25e0%25b8%2587%25e0%25b8%2584%25e0%25b8%25b1%25e0%25b8%259a%25e0%25b9%2583%25e0%25b8%25ab%25e0%25b9%2589%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%25b3 https://www.bolttech.co.th/blog/%e0%b8%9e-%e0%b8%a3-%e0%b8%9a-%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b8%8e%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%97%e0%b8%b3#comments Thu, 29 Jun 2017 08:32:08 +0000 https://www.bolttech.co.th/blog?p=2813 อ่านเร็วๆ พ.ร.บ.เป็นประกันภัยภาคบังคับที่กฎหมายจราจรทางบกให้รถทุกคันต้องทำก่อนต่อภาษีรถยนต์ประจำปีเพื่อดูแลค่ารักษาพยาบาลคนเจ็บหรือเสียชีวิตได้ทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางถนนขึ้น ประกันภัยรถยนต์ของประเทศไทยแบ่งออกเป็น ประกันภาคบังคับ คือ พ.ร.บ.รถยนต์ และประกันภาคสมัครใจ คือประกันรถยนต์ชั้นต่างๆ ถ้ารถที่มาชนเราไม่มี พ.ร.

The post พ.ร.บ. รถยนต์ทำไมกฎหมายต้องบังคับให้ทำ? appeared first on Bolttech Blog - News & Updates.

]]>
อ่านเร็วๆ

  • พ.ร.บ.เป็นประกันภัยภาคบังคับที่กฎหมายจราจรทางบกให้รถทุกคันต้องทำก่อนต่อภาษีรถยนต์ประจำปีเพื่อดูแลค่ารักษาพยาบาลคนเจ็บหรือเสียชีวิตได้ทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางถนนขึ้น
  • ประกันภัยรถยนต์ของประเทศไทยแบ่งออกเป็น ประกันภาคบังคับ คือ พ.ร.บ.รถยนต์ และประกันภาคสมัครใจ คือประกันรถยนต์ชั้นต่างๆ
  • ถ้ารถที่มาชนเราไม่มี พ.ร.บ.เรายังได้รับการดูแลจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
  • ค่ารักษาพยาบาลที่เกินจาก พ.ร.บ.จะค่าใช้จ่ายที่เป็นประกันภาคสมัครใจดูแลต่อตามทุนประกันของประกันแต่ละประเภท

 
สาเหตุที่ทุกๆ ปีเราต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ให้เรียบร้อยก่อนถึงจะต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้นั้น เนื่องจากเป็นกฎหมายจราจรครับ ชื่อเต็มๆ ของ พ.ร.บ.นั้นคือ “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ” มีฉบับแรกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมาเพื่อทั้งคุ้มครองสิทธิและดูแลประชาชนทุกคนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถให้รับการรักษาพยาบาลทันทีเมื่อเกิดเหตุขึ้น, เป็นหลักประกันให้โรงพยาบาลให้ความช่วยเหลือคนเจ็บว่าจะได้รับค่ารักษาอย่างแน่นอน, เป็นสวัสดิการให้กับคนไทยทุกคน และส่งเสริมการใช้การประกันภัยเข้ามาแก้ปัญหาให้เกิดประโยชน์ที่สุดครับ
 
Why-the-traffic-law-enforce-to-do-CTPL
 

ประกันภัยรถยนต์ของประเทศไทย

 
อย่างที่เรารู้กันแล้วว่าประกันรถยนต์แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ประกันภัยภาคบังคับก็คือ พ.ร.บ. รถยนต์เพื่อดูแลการรักษาพยาบาลคนเจ็บหรือผู้เสียชีวิต และประกันภัยภาคสมัครใจ ซึ่งก็คือประกันชั้นรถยนต์ชั้น 1, 2+, 3 และ 3+ นั่นเองครับ ทีนี้ถ้าเราจอดรถทิ้งไว้นานไม่ได้ต่ออะไรทั้งสิ้นจะขับรถยนต์ซักคันให้ถูกกฎหมายจะต้องมีเอกสารอะไรก่อนหลัง? หรือมีขั้นตอนอย่างไรบ้างมาดูกันครับ
 
1.ใบขับขี่รถยนต์ ก่อนที่จะขับรถได้ก็ต้องมีใบขับขี่ก่อนนะครับ เราก็ต้องไปสอบใบขับขี่ที่สำนักงานขนส่งของแต่ละจังหวัด ถ้าที่กรุงเทพก็จะเป็นกรมการขนส่งทางบกแถวจตุจักรนะครับ
2.เอกสารคู่มือรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นเล่มจริงหรือสำเนาต้องมีติดรถไว้นะครับ เพื่อแสดงที่มาของรถเวลาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจขอตรวจได้
3.พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นเอกสารที่เกี่ยวกับการประกันภัยแรกสุดที่เราต้องทำก่อนเลยครับ เพื่อจะได้ต่อทะเบียนรถได้ ถ้าพ.ร.บ.ขาดจะโดนค่าปรับหฤโหดหลักหมื่นบบาทเลยนะครับ
4.ใบรับรองการตรวจสภาพรถ  ถ้ารถยนต์มีอายุเกิน 7 ปีจากสถานที่ตรวจสถาพรถเอกชนมราได้รับอนุญาต (ต.ร.อ.) แต่ถ้าขาดต่อทะเบียน 1 ปี ต้องตรวจที่กรมการขนส่งทางบกเท่านั้นนะครับ
5.ต่อทะเบียนรถยนต์ (เสียภาษีรถยนต์ประจำปี) เป็นการจ่ายภาษีรถยนต์ทุกปีสำหรับรถทุกคันที่จะใช้งานบนถนนครับซึ่งจะต่อทะเบียนได้ต้องมี พ.ร.บ. (หรือใบตรวจสภาพรถถ้ารถเกิน 7 ปี) ให้เรียบร้อยก่อนและถ้าไม่ต่อทะเบียนแล้วเอามาขับจะผิดกฎหมายโดนค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือนสะสมไปเรื่อยๆ ครับ
6.ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (ถ้าต้องการความคุ้มครองเพิ่ม) ข้อนี้ไม่บังคับให้ทำแต่เรามักจะสมัครใจทำเองเพื่อช่วยดูแลค่าใช้จ่ายที่ซ่อมรถและค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น
 

ความคุ้มครองของพ.ร.บ.

 
เรามีของดีที่ช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาลคนเจ็บเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันกขึ้นอยู่แล้วนะครับ ในความเห็นของ Frank เรียกว่าเป็นสวัสดิการให้กับคนไทยทุกคนเลยก็ว่าได้ แต่หลายคนยังค่อยรู้ว่า พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง เลยขอแบ่งตามการได้รับความคุ้มครองใหม่ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2559 เป็นต้นไปนะครับเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น
 

1.ความที่คุ้มครองที่ได้รับทันที

 
หรือเรียกว่า “ค่าความเสียหายเบื้องต้น” ไม่ต้องรอดูว่าใครผิดหรือถูก เพราทุกๆ คนควรได้รับการรักษาพยาบาลทันทีเมื่อเกิดเหตุ รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท
 
-ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ ตามค่าใช้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท  
-กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร จ่าย 35,000 บาท
 

2.ความคุ้มครองที่ได้รับหลังจากพิสูจน์ผิด-ถูกแล้ว

 
หลังจากการพิสูจน์แล้วว่าเราเป็นฝ่ายถูก จะได้รับเงินค่าเสียหายที่เกินจากความเสียหายเบื้องต้นตามนี้นะครับ
 
-ค่ารักษาพยาบาลจากตามจริงจากการบาดเจ็บ เพิ่มเติมไม่เกิน 80,000 บาท  
-กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร เพิ่มเติม 300,000 บาท
-กรณีสูญเสียอวัยวะ ตามแต่ละกรณี 200,000-300,000 บาท
-ค่าชดเชยการรักษาตัว (ผู้ป่วยใน) 200 บาท / วัน ไม่เกิน 20 วัน รวม 4,000 บาท
จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดรวมกันต้องไม่เกิน 304,000 บาท
 
และวงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดที่คงไว้ตามคงวามคุ้มครองเดิมที่
-ความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งสำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง ไม่เกิน 5,000,000/ ครั้ง
-ความรับผิดสสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งสำหรับรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง 10,000,000 / ครั้ง
 
อ่านแล้วแชร์เป็นข้อมูลบอกต่อกันได้เลยนะครับ เพราะเราควรจะรู้ว่าเรามีสิทธิอะไร ใช้สิทธิอะไรได้บ้างเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นโดยเฉพาะคนที่ต้องเดินทางเป็นประจำครับ
 
Why-the-traffic-law-enforce-to-do-CTPL
 

ถ้ารถที่มาชนเราไม่มี พ.ร.บ. ทำไงดี?

 
นอกจากนี้แล้วยังเห็นหลายเคสที่ถามกันใน Pantip ทั้งในกรณีที่เราโดยชนด้วยรถที่ไม่ไม่ พ.ร.บ.หรือกรณีที่โดนรถชนแล้วหนีแล้วได้รับบาดเจ็บก็เช่นเดียวกันนะครับ เคสนี้เราติดต่อ “กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย” ที่จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2535 เพื่อดูแลค่ารักษาเบื้องต้นได้ตามรายละเอียดด้านล่างเลยครับ
 

โดนชนแล้วหนี

-รักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บตามจริงหรือไม่เกิน 30,000 บาท กรณีเสียชีวิต 35,000 บาท จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
 

โดนชนด้วยรถที่ไม่มี พ.ร.บ.

-รักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บตามจริงหรือไม่เกิน 30,000 บาท กรณีเสียชีวิต 35,000 บาท (ถือเป็นอย่างน้อยที่ต้องไม่ต่ำกว่ากฎหมายกำหนด) จากเจ้าของรถ และเจ้าของรถต้องจ่ายคืนกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยพร้อมเงินเพิ่มร้อยละ 20 จากเจ้าของรถภายใน 7 วัน
 
โดยที่ระยะเวลาที่เราต้องทำเรื่องให้เรียบร้อยภายใน 180 วันนับจากวันที่เกิดเหตุได้ที่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัดได้ทั้งเหตุจากรถยนต์และรถจักรยานยนต์ หรือโทรสอบถามได้ที่ 02-100-9191 ได้นะครับ
 
ต่อประกันให้เรียบร้อยก่อนใช้รถเพราะอุบัติเหตุไม่เคยเตือนเราล่วงหน้าครับ เช็คเบี้ยประกันออนไลน์ได้ที่นี่นะครับ
 

Credit: http://www.oic.or.th/th, https://pantip.com, https://www.dlt.go.th

 
 

The post พ.ร.บ. รถยนต์ทำไมกฎหมายต้องบังคับให้ทำ? appeared first on Bolttech Blog - News & Updates.

]]>
https://www.bolttech.co.th/blog/%e0%b8%9e-%e0%b8%a3-%e0%b8%9a-%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b8%8e%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%97%e0%b8%b3/feed 2