ลดหย่อนภาษี Archives - Bolttech Blog - News & Updates Bolttech Blog - News & Updates Sat, 06 Nov 2021 15:35:43 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0.3 https://www.bolttech.co.th/blog/wp-content/uploads/2021/02/favicon.ico ลดหย่อนภาษี Archives - Bolttech Blog - News & Updates 32 32 สิทธิลดหย่อนภาษี 2564 มีอะไรบ้าง? https://www.bolttech.co.th/blog/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b8%ab%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%b5-2564-%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3%e0%b8%9a%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%25aa%25e0%25b8%25b4%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%2598%25e0%25b8%25b4%25e0%25b8%25a5%25e0%25b8%2594%25e0%25b8%25ab%25e0%25b8%25a2%25e0%25b9%2588%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%25a0%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%25a9%25e0%25b8%25b5-2564-%25e0%25b8%25a1%25e0%25b8%25b5%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%25b0%25e0%25b9%2584%25e0%25b8%25a3%25e0%25b8%259a%25e0%25b9%2589%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%2587 Sat, 14 Nov 2020 03:29:00 +0000 https://www.bolttech.co.th/blog?p=14001 วางแผนลดหย่อนภาษี 2563 เพื่อยื่นลดหย่อนภาษี 2564 สำหรับผู้มีรายได้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถยื่นได้ที่กรมสรรพากรหรือยื่นภาษีออนไลน์

The post สิทธิลดหย่อนภาษี 2564 มีอะไรบ้าง? appeared first on Bolttech Blog - News & Updates.

]]>
วางแผนลดหย่อนภาษี 2563 เพื่อยื่นลดหย่อนภาษี 2564 สำหรับมนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพียงรวบรวมเอกสารให้ถูกต้องและครบถ้วน จากนั้นยื่นที่กรมสรรพากรหรือยื่นภาษีออนไลน์ ก็จะช่วยให้เราเสียภาษีน้อยลง แต่ก่อนอื่นคุณจะต้องรู้ว่าสิทธิลดหย่อนภาษี 2564 มีอะไรบ้าง วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลคร่าวๆ มาให้แล้ว เพื่อจะได้เตรียมตัวลดหย่อนภาษีต่อไป

1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว และครอบครัว

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีเงินได้ หรือมีรายได้แต่เลือกคำนวณภาษีพร้อมกัน
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี ทั้งนี้สามีสามารถลดหย่อนภาษีได้กรณีภรรยาไม่มีเงินได้
  • ค่าลดหย่อนบุตร สิทธิลดหย่อนภาษีบุตรคนแรกได้ 30,000 บาท สำหรับบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปสามารถลดหย่อนเพิ่มอีก 30,000 บาท แต่จะต้องเป็นบุตรโดยชอบตามกฎหมายสามารถใช้สิทธิ์ได้ไม่จำกัด และบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักได้ไม่เกิน 3 คน (นับเฉพาะที่มีชีวิตอยู่)
  • ค่าลดหย่อนบิดามารดา สำหรับเลี้ยงดูพ่อแม่ และพ่อแม่คู่สมรสที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ให้คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน โดยสิทธิลดหย่อนบิดามารดาใช้ได้ครั้งเดียว เพราะฉะนั้นพ่อแม่ต้องระบุลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองว่าลูกคนไหนจะเป็นคนเลี้ยงดู
  • ค่าอุปการะคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อคน แต่ผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวคนพิการ พร้อมหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ

2. ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

  • ประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาทต่อปี
  • เบี้ยประกันชีวิต สามารถหักได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  • เบี้ยประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 25,000 บาท (จากแต่เดิมได้เพียง 15,000 บาทต่อปี) กรณีทำประกันสุขภาพพ่วงกับประกันชีวิตจะต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  • เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ หักได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี
  • เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรส  หักได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อปี กรณีคู่สมรสไม่มีเงินได้
  • เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ และไม่เกิน 490,000 บาทจะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเอาไปคำนวณภาษี
  • เงินสะสมกองทุน กบข. และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หรือไม่เกิน 500,000 บาท
  • เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ให้ตามที่จ่ายจริงไม่เกินจำนวน 13,200 บาท
  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หักภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตบำนาญ ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และต้องไม่เกิน 200,000 บาท โดยเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และ RMF จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) สิทธิลดหย่อนภาษี 2564 ได้สูงสุด 200,000 บาท

3. ค่าลดหย่อนอสังหาริมทรัพย์

  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย สิทธิลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ซื้อบ้านหลังแรกปี พ.ศ. 2558 ลดหย่อนได้ 20% ของราคาบ้าน โดยนำไปลดหย่อนภาษีได้ 5 ปี (เฉลี่ยปีละ 4%) แต่ที่อยู่อาศัยนั้นราคาไม่เกิน 3,000,000 บาท
  • ซื้อบ้านหลังแรกในปี พ.ศ. 2562 ลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท แต่ที่อยู่อาศัยนั้นราคาไม่เกิน 5,000,000 บาท

4. ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค

  • เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา การกีฬา และเงินบริจาคเพื่อประโยชน์สาธารณะ สามารถหักได้สองเท่า แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถหักได้สองเท่า แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคทั่วไป หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน และเงินบริจาค 2 กลุ่มแรกข้างต้น
  • เงินบริจาคให้พรรคการเมือง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

5. ค่าลดหย่อนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

  • สินค้าการศึกษาและกีฬา หักลดหย่อนภาษีไม่เกิน 15,000 บาท
  • สินค้าหนังสือ ไม่เกิน 15,000 บาท
  • สินค้ากลุ่มช้อปช่วยชาติ สินค้า OTOP ไม่เกิน 15,000 บาท
  • ท่องเที่ยวไทย เที่ยวเมืองหลัก ลดหย่อนภาษีได้ 15,000 บาท
  • ท่องเที่ยวไทย เที่ยวเมืองรอง ลดหย่อนภาษีได้ 20,000 บาท
  • ค่าเสียหายจากพายุปาบึก ค่าซ่อมบ้านไม่เกิน 100,000 บาท และค่าซ่อมรถไม่เกิน 30,000 บาท
  • ค่าเสียหายจากพายุโพดุล พายุคาจิกิ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ค่าซ่อมบ้านไม่เกิน 100,000 บาท และค่าซ่อมรถอื่นๆ ไม่เกิน 30,000 บาท

สิทธิลดหย่อนภาษี 2564 ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

สำหรับบุคคลที่มีรายได้ ให้เตรียมลดหย่อนภาษี 2563 เพื่อยื่นลดหย่อนภาษี 2564 โดยรูปแบบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 แบบด้วยกัน คือ แบบ ภ.ง.ด.90 ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือเงินเดือนที่ได้รับ และแบบ ภ.ง.ด.91 ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมอื่น ซึ่งเราจะต้องเตรียมเอกสารเพื่อยื่นจ่ายภาษี ดังนี้

  • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) 
  • รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา
  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เพื่อกรอกแบบฟอร์มการยื่นจ่ายภาษี

แล้วทำการยื่นภาษีที่ไหน?

ทั้งนี้คุณสามารถยื่นภาษีได้หลายช่องทาง หากเราเตรียมเอกสารทุกอย่างครบแล้ว ให้รีบทำการยื่นจ่ายภาษีให้เร็วที่สุด โดยสามารถยื่นได้หลายช่องทาง ได้แก่

  • ยื่นภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพกร
  • ยื่นภาษีออนไลน์ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th
  • ยื่นผ่านแอปพลิเคชั่น RD Smart Tax แต่ต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรก่อน

หลังจากเช็ก สิทธิลดหย่อนภาษี 2564 เตรียมเอกสารภาษีทุกอย่างครบแล้ว ก็ให้ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่กรมสรรพากร หรือยื่นภาษีออนไลน์ได้เลย ซึ่งค่าลดหย่อนภาษีเหล่านี้จะช่วยให้เราจ่ายภาษีน้อยลง

เห็นไหมครับว่า ซื้อประกันลดหย่อนภาษีได้ด้วย ไม่ว่าจะซื้อให้ตัวเองหรือซื้อให้คุณพ่อคุณแม่ ก็ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี 2564 นี้ได้เลย นอกจากเราจะมีประกันสุขภาพดีๆ ให้ดูแลเมื่อยามเจ็บไข้แล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในอนาคตด้วยนะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.itax.in.th

ประกันสุขภาพ

The post สิทธิลดหย่อนภาษี 2564 มีอะไรบ้าง? appeared first on Bolttech Blog - News & Updates.

]]>
ซื้อประกันลดหย่อนภาษี 2563 ควรซื้อประกันแผนไหนดี ? https://www.bolttech.co.th/blog/%e0%b8%8b%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99-%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b8%ab%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%b5?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%258b%25e0%25b8%25b7%25e0%25b9%2589%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%259b%25e0%25b8%25a3%25e0%25b8%25b0%25e0%25b8%2581%25e0%25b8%25b1%25e0%25b8%2599-%25e0%25b8%25a5%25e0%25b8%2594%25e0%25b8%25ab%25e0%25b8%25a2%25e0%25b9%2588%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%25a0%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%25a9%25e0%25b8%25b5 Fri, 02 Oct 2020 02:00:00 +0000 https://www.bolttech.co.th/blog?p=13702 หากคุณกำลังวางแผนซื้อประกันลด หย่อนภาษี 2563 แต่ยังไม่รู้ว่าควรซื้อประกันแบบไหนดี วันนี้เราจะมาแนะนำคำตอบกับทุกท่าน ด้วยการนำเสนอข้อมูลประกันรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ รวมถึงรายละเอียดด้านความคุ้มครองที่คุณจะได้รับ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบให้คุณได้ประกันที่ตรงใจและลดหย่อนได้อย่างคุ้มค่าที่สุด "ประกันที่มีค่ารักษ

The post ซื้อประกันลดหย่อนภาษี 2563 ควรซื้อประกันแผนไหนดี ? appeared first on Bolttech Blog - News & Updates.

]]>
หากคุณกำลังวางแผนซื้อประกันลด หย่อนภาษี 2563 แต่ยังไม่รู้ว่าควรซื้อประกันแบบไหนดี วันนี้เราจะมาแนะนำคำตอบกับทุกท่าน ด้วยการนำเสนอข้อมูลประกันรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ รวมถึงรายละเอียดด้านความคุ้มครองที่คุณจะได้รับ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบให้คุณได้ประกันที่ตรงใจและลดหย่อนได้อย่างคุ้มค่าที่สุด

"ประกันที่มีค่ารักษาพยาบาล นำมาลดหย่อนภาษี 2563 ได้"

การยื่นภาษีนัับว่าเป็นหน้าที่ของคนไทย เบิ้องต้นลองทำความเข้าใจกันก่อนว่า การยื่นภาษีเงินได้คืออะไร ยื่นอย่างไร ทำไมต้องยื่น? ถ้าเข้าใจกันแล้วลองมาดูกันเลยว่าประกันตัวไหนเหมาะกับการซื้อเพื่อลดหย่อนภาษี
หากคุณอยากรู้ว่าประกันตัวไหน สามารถนำมาลดหย่อนภาษี 2563 ได้ มีวิธีสังเกตง่าย ๆ คือ "เงื่อนไขของประกันต้องมีค่ารักษาพยาบาล" ซึ่งล่าสุดปี 2563 นี้ ทางกรมสรรพากรได้ขยายขอบเขตให้ลดหย่อนได้สูงสุด 25,000 บาท ต่อปี ต่างจากปีก่อน ๆ จะจำกัดอยู่ที่ 15,000 เท่านั้น เนื่องจากพิษของโรคโควิดที่เล่นงานสุขภาพของคนไทย ทางภาครัฐจึงอยากให้คนไทยมีหลักประกันด้านสุขภาพกันมากขึ้น รวมถึงการทำประกันยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ด้วย สรุปได้ว่าหากซื้อประกันที่มีค่ารักษาพยาบาลก่อนสิ้นปี 2563 นี้ จะได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีที่มากขึ้น 
แล้วประกันตัวไหนที่มีค่ารักษาพยาบาลและนำไปลดหย่อนภาษี 2563 ได้ล่ะ ? ไม่ต้องไปหาคำตอบที่ไหนไกลเพราะเราจะสรุปข้อมูลพร้อมบอกสิทธิ์ประโยชน์จากประกันแต่ละประเภทที่คุณจะได้รับให้ ตามนี้เลยครับ
ประกันสุขภาพ

1. ประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพทุกแผน ไม่ว่าจะมีค่าเบี้ยเท่าไหร่ คุ้มครองมากหรือน้อยขนาดไหน จะต้องมีเงื่อนไขจ่ายค่ารักษาพยาบาลเสมอ ซึ่งข้อดีของการทำประกันสุขภาพคือคุณจะได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นการป่วยแบบไหน หรือบาดเจ็บจากสาเหตุอะไร ก็สามารถเข้าโรพพยาบาลและเบิกค่ารักษาตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ได้หมด ประกันสุขภาพจึงนับว่าเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย เพราะไม่ว่าใครก็ล้วนมีโอกาสเจ็บป่วยทั้งสิ้น การมีประกันสุขภาพไว้ก็ย่อมใช้ชีวิตได้อุ่นใจยิ่งกว่า อีกทั้งยังใช้สิทธิบางอย่างพร้อมกับประกันสังคมได้ด้วย นอกจากนี้การซื้อประกันสุขภาพให้พ่อแม่ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษี 2563 ได้เช่นกัน 
หากยังสงสัยเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีของประกันสุขภาพอยู่ ลองกดเข้าไปดูข้อมูล ระกันสุขภาพใช้ลดหย่อนภาษีได้ไหม ? แล้วคุณจะเข้าใจยิ่งขึ้นครับ

2. ประกันอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุนับว่าเป็นภัยที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาโดยคุณไม่ทันตั้งตัว การทำประกันอุบัติเหตุ นั้นจะมีค่ารักษาพยาบาลเมื่อคุณบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ดังนั้นการทำประกันอุบัติเหตุจึงสามารถนำสิทธิ์ไปลดหย่อนภาษี 2563 ได้ จุดเด่นของประกันอุบัติเหตุนอกจากจะมีค่ารักษาพยาบาลแล้ว ยังมีเงินชดเชยกรณีคุณเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะจากอุบัติเหตุด้วย และบางกรมธรรมยังคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากฆาตรกรรมด้วยเช่นกัน ส่วนเบี้ยประกันก็นับว่าไม่แพงมาก ผู้ที่มีรายได้น้อยสามารถทำประกันได้

3. ประกันโรคร้ายแรง 

โรคร้ายมักจะมาเยือนตอนคุณไม่ทันระวังตัวเสมอ เช่นโรคมะเร็ง โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคปอด โรคพาร์กินสัน เป็นต้น  ถ้าเรามีประกันโรคร้ายแรงก็เหมือนเรามีหลักประกันค่ารักษาเมื่อเราเกิดป่วยเป็นโรคร้าย ซึ่งโดยทั่วไปหากตรวจพบโรคร้ายแรงทางบริษัทประกันจะให้เงินชดเชยเป็นเงินก้อนใหญ่ เพื่อให้ผู้ทำประกันนำเงินก้อนไปเป็นค่ารักษาพยาบาล ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ทำประกันโรคร้ายแรงจึงสามารถนำไปลดหย่อนภาษี 2563 ได้ จุดเด่นของประกันโรคร้ายแรงอีกประการ คือค่าเบี้ยรายปีถูกมาก แต่ได้รับเงินชดเชยสูง สามารถนำเงินไปช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากค่ารักษาโรคที่แสนแพงได้ ถ้าต้องการข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพิ่มเติมลอไปดู ข้อแนะนำจากชาว Pantip ก่อนทำประกันโรคร้ายแรง ต้องรู้ ก็ได้นะครับ

4. ประกันโควิด-19

เป็นอีกหนึ่งโรคภัยที่ระบาดทั่วโลกในปี 2563 ซึ่งเงื่อนไขของประกันนี้คือหากตรวจเจอทางบริษัทผู้รับประกันจะจ่ายเงินชดเชย เพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลรักษาโรคโควิด-19 ข้อดีของประกันตัวนี้จะคล้ายกับประกันโรคร้ายแรง คือราคาเพียงหลักร้อยเท่านั้น แต่หาก เช็คอาการและตรวจเจอโควิด-19 ก็จะได้เงินชดเชยมากเพียงพอจนสามารถรักษาโรคให้หายได้ ดังนั้นการซื้อประกันโควิดเพื่อลดหย่อนภาษีปี 2563 ก็นับเป็นทางเลือกที่ดีอีกทาง
คำนวนภาษี

ข้อควรระวัง !

ไม่ว่าคุณจะซื้อประกันที่มีค่ารักษาพยาบาลที่กรมธรรม์ก็ตาม จะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีรวมทุกแผนได้ตามจริงในปี 2563 ไม่เกิน 25,000 เท่านั้น และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ด้วยครับ ซึ่งต้องอย่าลืมนะครับว่าต้องซื้อก่อนสิ้นปี 2563 เท่านั้น และต้องซึ่งกับบริษัทประกันภัยของไทยด้วยเช่นกัน 
ทั้งนี้หากเป็นไปได้ คุณควรแจ้งกับบริษัทประกันด้วยนะครับว่าต้องการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี 2563 ซึ่งทางบริษัทประกันจะส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรเป็นหลักฐานเพิ่ม ทำให้เราทำเรื่องลดหย่อนภาษีได้สะดวกยิ่งขึ้น

ประกันชีวิตก็ลดหย่อนได้ แต่…

หากพูดถึงประกันที่ลดลดหย่อนภาษี 2563 ได้ หลายคนคงนึกถึงประกันชีวิตใช่ไหมครับ ซึ่งทางกรมสรรพากรได้ระบุว่าผู้ที่ซื้อประกันชีวิตสามารถหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาทต่อปี ซึ่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับประกันประเภทอื่น ๆ แต่ทั้งนี้มีเงื่อนไขคือคุณต้องซื้อประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป นั่นหมายความว่าคุณมีข้อผู้มัดกับกรมธรรม์เป็นระยะเวลายาวครับ ดังนั้นการซื้อประกันชีวิตคุณจะต้องใส่ใจรายละเอียดกรมธรรม์ และดูเงื่อนไขข้อสัญญาให้ถี่ถ้วน รวมถึงวางแผนการเงินด้วยว่าจะส่งเบี้ยไหวแค่ไหนด้วยครับ
เท่านี้เราก็ทราบกันแล้วนะครับว่าประกันตัวไหนลดหย่อนภาษี 2563 ได้ หวังว่าทุกท่านคงสามารถเลือกรูปแบบประกันที่ตรงกับใจ ได้รับความคุ้มครองที่คุ้มค่า พร้อมกับสิทธิ์ช่วยลดหย่อนภาษีได้อย่างลงตัวนะครับ 
ขอบคุณข้อมูลจาก : businesstoday  กรมสรรพากร
ประกันสุขภาพ

The post ซื้อประกันลดหย่อนภาษี 2563 ควรซื้อประกันแผนไหนดี ? appeared first on Bolttech Blog - News & Updates.

]]>
ลดหย่อนภาษีฟรีแลนซ์ ? ต้องรู้ไรก่อนยื่นภาษีเงินได้ https://www.bolttech.co.th/blog/%e0%b8%9f%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%99%e0%b8%8b%e0%b9%8c%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%b5?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%259f%25e0%25b8%25a3%25e0%25b8%25b5%25e0%25b9%2581%25e0%25b8%25a5%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%258b%25e0%25b9%258c%25e0%25b9%2580%25e0%25b8%25aa%25e0%25b8%25b5%25e0%25b8%25a2%25e0%25b8%25a0%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%25a9%25e0%25b8%25b5 Wed, 13 Nov 2019 08:25:17 +0000 https://www.bolttech.co.th/blog?p=9570 ชีวิตชาวฟรีแลนซ์!! แน่นอนว่า เราต้องเจอกับนายจ้างมากหน้าหลายตา และไม่มีใครมาดูแลเรื่องยื่นภาษี หรือทำเอกสารลดหย่อนภาษีให้เราเหมือนเป็นมนุษย์เงินเดือนแน่ ๆ อ่ะ ! สำหรับฟรีแลนซ์มือใหม่ที่เพิ่งเข้าวงการ และไม่รู้ว่าต้องเสียภาษีฟรีแลนซ์ยังไงดีหนอ แฟรงค์ขอแนะนำตามนี้ครับ !!  ส่วนใหญ่จะมีการหักภาษีเงินได้ 2 รูปแบบ ได้แก่  หั

The post ลดหย่อนภาษีฟรีแลนซ์ ? ต้องรู้ไรก่อนยื่นภาษีเงินได้ appeared first on Bolttech Blog - News & Updates.

]]>
ชีวิตชาวฟรีแลนซ์!! แน่นอนว่า เราต้องเจอกับนายจ้างมากหน้าหลายตา และไม่มีใครมาดูแลเรื่องยื่นภาษี หรือทำเอกสารลดหย่อนภาษีให้เราเหมือนเป็นมนุษย์เงินเดือนแน่ ๆ อ่ะ ! สำหรับฟรีแลนซ์มือใหม่ที่เพิ่งเข้าวงการ และไม่รู้ว่าต้องเสียภาษีฟรีแลนซ์ยังไงดีหนอ แฟรงค์ขอแนะนำตามนี้ครับ !! 
ส่วนใหญ่จะมีการหักภาษีเงินได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ 

  1. หัก 3% ของเงินที่จ่ายทุกครั้ง รับใบทวิทุกรอบ ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบนี้
  2. คำนวณภาษีจากรายได้สะสมที่ได้รับจากนายจ้าง หรือบริษัทฯ ที่ฟรีแลนซ์ทำงานให้

ฟรีแลนซ์ต้องขอใบทวิ 50 

เฮโล่วพี่จ๋า ใบทวิ 50 สำหรับฟรีแลนซ์คืออะไร ? ฉันไม่รู้จัก (555+) ใจเย็นครับ แฟรงค์ขอหยิบข้อมูลจากกรมสรรพากร ระบุว่า ใบทวิ 50 หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย บางครั้งถูกเรียกว่า “ใบรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)” เป็นเอกสารสำคัญที่ฟรีแลนซ์หรือผู้ทำอาชีพอิสระจะต้องขอจากนายจ้างเองนะครับ หากนายจ้างหักภาษีเราต้องตามเอกสารนี้ด้วยนะ  ไม่เหมือนการเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ฝ่ายบุคคลทำให้ล่ะ
กรณีที่เรารับทำงานฟรีแลนซ์ ผู้ว่าจ้างอาจจะขอหักภาษี ณ ที่จ่ายทันทีหลังจากจ่ายเงิน เช่น ค่าจ้าง 1,000 บาทหัก 3% หมายความว่า เราจะมีเงินเหลือเข้ากระเป๋า 970 บาท หักเป็นเงินภาษี 30 บาท 
หรือถ้าเงินรายรับจำนวนมากแนะนำสอบถามสรรพากรใกล้คุณจะดีที่สุด เพราะอาจจะตีความเป็นรายได้มาตรา 40(2) หรือ 40(8) 

“ฟรีแลนซ์ทั้งหลายไม่งงนะครับ”

โดยคนไทยที่มีรายได้ทุกคนจะต้องใช้เพื่อยื่นภาษีเงินได้บุคคลประจำปี (ภงด 91) ล่ะครับ ดังนั้น ย้ำอีกรอบว่า ฟรีแลนซ์ห้ามลืมขอใบทวิ 50 นะจ้ะ รักษาสิทธิตัวเองให้ดี ต้องเก็บให้ดีทุกฉบับ อย่าให้ตกหล่น !! เพราะอาจจะโดนภาษีย้อนหลัง จะบอกว่า หลังอานเลยนะครับ ฮรื้อออ

ลืมขอใบทวิ 50 ทำไงดี 

ไม่มีทางเลือกอื่นเลยครับ นอกจาก "กลับไปขอใบทวิ 50 (ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย) จากผู้ว่าจ้างอีกครั้ง" เพราะถ้าเราไม่ยื่น ระวังงานจะเข้า !! 

อัตราภาษีเงินเกณฑ์เดียวกับคนทำงานประจำ

  • เงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 1 - 150,000    บาท ได้รับยกเว้น
  • เงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 150,001 - 300,000 บาท อัตราภาษีร้อยละ 5 ภาษีแต่ละขั้นเงินได้สุทธิ จะอยู่ที่ 7,500 บาท
  • เงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 300,001 - 500,000 บาท อัตราภาษีร้อยละ 10 ภาษีแต่ละขั้นเงินได้สุทธิ จะอยู่ที่ 20,000 บาท    
  • เงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 500,001 - 750,000 บาท อัตราภาษีร้อยละ 15 ภาษีแต่ละขั้นเงินได้สุทธิ จะอยู่ที่ 37,500 บาท    
  • เงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 750,001 - 1,000,000 บาท อัตราภาษีร้อยละ 20 ภาษีแต่ละขั้นเงินได้สุทธิ จะอยู่ที่ 50,000 บาท
  • เงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 1,000,001 - 2,000,000 บาท อัตราภาษีร้อยละ 25 ภาษีแต่ละขั้นเงินได้สุทธิ จะอยู่ที่ 250,000   บาท        
  • เงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 2,000,001 - 5,000,000 บาท อัตราภาษีร้อยละ 30 ภาษีแต่ละขั้นเงินได้สุทธิ จะอยู่ที่ 900,000  บาท
  • เงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 5,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษีร้อยละ 35   

นอกจาก ใบทวิ 50 สำหรับฟรีแลนซ์ที่ต้องเตรียม ยังมีเอกสารอื่น ๆ หลักฐานที่ใช้ลดหย่อนร่วมครับ  เช่น ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ (ต้องแจ้งขอเอกสารกับบริษัทฯ หรือตัวแทนก่อนยื่น) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุน RMF/LMF ค่าลดหย่อนเพื่อการบริจาค และค่าลดหย่อนพิเศษปีภาษีแต่ละปี ฯลฯ 
เมื่อฟรีแลนซ์ไม่ฟรีภาษี เอาเป็นว่าทำประกันสุขภาพ และประกันชีวิตไว้ลดหย่อนภาษีและดูแลคุ้มครองคุณเถอะครับ ดีที่สู๊ดล่ะ


FYI : อ้างอิงข้อมูลภาษีเงินได้จากกรมสรรพากร ระบุว่า 

  • มาตรา 40 (2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว
  • มาตรา 40 (8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว 

ขอบคุณข้อมูล rd.go.th, wealthmeup.com, set.or.th 
Content by Butter Cutter
Artwork by Kamonwan Wongchai

The post ลดหย่อนภาษีฟรีแลนซ์ ? ต้องรู้ไรก่อนยื่นภาษีเงินได้ appeared first on Bolttech Blog - News & Updates.

]]>