การลงทุนสะสมเงินเก็บ Archives - Bolttech Blog - News & Updates Bolttech Blog - News & Updates Tue, 28 Jun 2022 09:13:05 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0.3 https://www.bolttech.co.th/blog/wp-content/uploads/2021/02/favicon.ico การลงทุนสะสมเงินเก็บ Archives - Bolttech Blog - News & Updates 32 32 เกษียนแล้วเบิกเงินบำเหน็จบำนาญ ประกันสังคมยังไง? https://www.bolttech.co.th/blog/%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%b3%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%87%e0%b8%88%e0%b8%9a%e0%b8%b3%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%8d%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%a1?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b9%2580%25e0%25b8%259a%25e0%25b8%25b4%25e0%25b8%2581%25e0%25b9%2580%25e0%25b8%2587%25e0%25b8%25b4%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%259a%25e0%25b8%25b3%25e0%25b9%2580%25e0%25b8%25ab%25e0%25b8%2599%25e0%25b9%2587%25e0%25b8%2588%25e0%25b8%259a%25e0%25b8%25b3%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%258d%25e0%25b8%259b%25e0%25b8%25a3%25e0%25b8%25b0%25e0%25b8%2581%25e0%25b8%25b1%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%25aa%25e0%25b8%25b1%25e0%25b8%2587%25e0%25b8%2584%25e0%25b8%25a1 Mon, 04 May 2020 03:01:12 +0000 https://www.bolttech.co.th/blog?p=10566 รู้หรือไม่ว่า? นอกจากเราจะได้รับ ประกันสังคมว่างงาน ประกันสังคมค่ารักษากรณีบาดเจ็บ และประกันสังคมคนท้องแล้ว เงินประกันสังคมที่เราจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมทุกๆ เดือนนั้น เรายังสามารถรับเงินเมื่อยามแก่ชราได้ด้วย หรือเรียกกันว่า “เงินบำเหน็จ-บำนาญชราภาพ” นั่นเอง ถือเป็นผลประโยชน์ส่วนหนึ่งเพื่อให้เก็บเงินเอาไว้ใช้หลังเกษีย

The post เกษียนแล้วเบิกเงินบำเหน็จบำนาญ ประกันสังคมยังไง? appeared first on Bolttech Blog - News & Updates.

]]>
รู้หรือไม่ว่า? นอกจากเราจะได้รับ ประกันสังคมว่างงาน ประกันสังคมค่ารักษากรณีบาดเจ็บ และประกันสังคมคนท้องแล้ว เงินประกันสังคมที่เราจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมทุกๆ เดือนนั้น เรายังสามารถรับเงินเมื่อยามแก่ชราได้ด้วย หรือเรียกกันว่า “เงินบำเหน็จ-บำนาญชราภาพ” นั่นเอง ถือเป็นผลประโยชน์ส่วนหนึ่งเพื่อให้เก็บเงินเอาไว้ใช้หลังเกษียณ ถึงแม้ในอนาคตคุณจะไม่มีรายได้ก็ตาม แต่ทั้งนี้สิทธิประกันสังคมกรณีชราภาพ เราจะได้รับเงินคืนตอนอายุเท่าไหร่ แล้วคำนวณอย่างไรบ้าง ลองมาเช็คสิทธิประกันสังคมเลย....

ประกันสังคมกรณีชราภาพ คืออะไร?

เงินสมทบชราภาพ
คำว่า เงินชราภาพประกันสังคม” หมายถึง กองทุนที่ผู้ประกันตนเลือกจ่ายสมทบให้ทางประกันสังคมตามที่กำหนด เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ประกันตนที่มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินบำเหน็จหรือเงินบำบาญยามชราภาพ  ทั้งนี้สามารถใช้สิทธิผู้ประกันตนมาตรา 33 (มนุษย์เงินเดือน) หรือผู้ประกันตนมาตรา 39  (คนที่ลาออกจากงานประจำแล้ว) ได้เหมือนกัน แต่การเบิกประกันสังคมชราภาพก็ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่จ่ายสมทบ อายุ และสถานะความเป็นผู้ประกันตนด้วย

การเบิกเงินสมทบชราภาพ ประกันสังคม

เงินสมทบชราภาพ
อย่างแรกต้องเข้าใจก่อนว่า “เงินสมทบชราภาพ” จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เงินบำเหน็จที่จ่ายเป็นก้อนครั้งเดียว กับเงินบำนาญชราภาพที่จ่ายให้รายเดือนตลอดชีวิต  ซึ่งจะมีการเบิกจ่ายและเงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคมแตกต่างกัน

1. เงินบำเหน็จชราภาพ ประกันสังคม

หากใครที่ต้องการรับเงินก้อนโตทีเดียวเป็นเงินบำเหน็จ ผู้ประกันตนสามารถเบิกประกันสังคมชราภาพ เพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากการทำงานเมื่อยามเกษียนได้ แต่ผู้ประกันตนต้องมีคุณสมบัติตามที่ประกันสังคมกำหนดไว้
1.1 เงื่อนไขการรับเงินบำเหน็จตามสิทธิประกันสังคม

  • จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
  • มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

1.2 ผลประโยชน์ในการได้รับเงินบำเหน็จ 
ถึงแม้จะอยู่ในเงื่อนไขประกันสังคมชราภาพตามที่กำหนดข้างต้น ผลประโยชน์ในการได้รับเงินบำเหน็จ  แต่ละคนอาจจะไม่เท่ากันด้วย ดังต่อไปนี้

  • กรณีจ่ายเงินสบทบน้อยกว่า 12 เดือน จะได้รับบำเหน็จเท่ากับเงินที่เราจ่ายสมทบเท่านั้น 
  • กรณีจ่ายสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้เงินบำเหน็จมาจากเงินสบทบที่เราจ่าย เงินสมทบของนายจ้าง และผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
  • กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับครั้งสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

1.3 การคำนวณเงินบำเหน็จชราภาพ
เอาเป็นว่า!! เพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น เราลองมาเช็คเงินชราภาพประกันสังคม (เงินบำเหน็จ) กันเถอะ สมมติว่านายกวิ้นเป็นผู้ประกันตนอายุ 55 ปี และสิ้นสุดเป็นลูกจ้าง ซึ่งนายกวิ้นจ่ายเงินสบทบ 450 บาทต่อเดือน เป็นเวลารวม 10 เดือน (น้อยกว่า 12 เดือน) ดังนั้น นายกวิ้นจะได้รับเงินเงินบำเหน็จ 450x10 = 4,500 บาท
แต่ถ้าจ่ายเงินสบทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และอายุครบ 55 ปี จะได้รับได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินสมทบของตนเอง + เงินสมทบของนายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน (ผลกำไรจากกองทุนประกันสังคมนำเงินไปลงทุน) 
อย่างเช่น นายกวิ้นจ่ายเงินสมทบเดือนละ 450 บาท ส่วนนายจ้างสบทบให้อีกเดือนละ 450 บาท แล้วนายกวิ้นจ่ายเงินสมทบชราภาพมา 10 ปี ดังนั้น นายกวิ้นจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ เป็นจำนวน (450 + 450) x 12 เดือน x 10 ปี = 108,000 บาท และบวกกับผลดอกจากการลงทุนประกันสังคม

2. เงินบำนาญชราภาพ ประกันสังคม

เงินสมทบชราภาพ
แต่ถ้าใครที่อยากได้เงินบำนาญชราภาพ เพื่อแบ่งใช้เป็นรายเดือนยาวๆ ตลอดชีวิต ก็จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการจ่ายเงินสบทบและฐานเงินเดือนเป็นหลัก รวมถึงข้อตกลงที่ทางประกันสังคมกำหนดไว้เช่นกัน
2.1 เงื่อนไขการรับเงินบำนาญตามสิทธิประกันสังคม

  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
  • มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

2.2 ผลประโยชน์ในการรับเงินบำนาญชราภาพ
หลังจากอ่านสิทธิการรับเงินบำนาญ มนุษย์เงินเดือนทั้งหลายก็ต้องศึกษา ผลประโยชน์ในการรับเงินบำนาญชราภาพ  เพื่อเอาไว้ใช้เมื่อยามเกษียณด้วยนะ ผลประโยชน์การรับสิทธิ์จะแบ่งออกเป็น 3 กรณีต่อไปนี้

  • กรณีจ่ายเงินสมทบ 180 เดือนพอดี มีสิทธิ์ได้รับเงินบำนาญชราภาพจากกองทุนประกันสังคมเป็นรายเดือน ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง 
  • กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน
  • กรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 5 ปี ทายาทผู้มีสิทธิ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน

2.3 การคำนวณเงินบำนาญชราภาพ
ทั้งนี้เราสามารถเช็คเงินชราภาพประกันสังคม (เงินบำนาญ) ได้เหมือนกัน หากคุณเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มนุษย์เงินเดือน จะกำหนดฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท แต่ถ้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 คนที่ลาออกจากงานประจำ คิดเป็นเงินเดือน 4,800 บาท

  • กรณีที่คุณจ่ายเงินสมทบ 180 เดือนเป๊ะ ตามสูตรก็คือ 20% x ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 

ตัวอย่างเช่น : นายแฟรงค์ เป็นผู้ประกันตนมีรายได้ 15,000 บาทขึ้นไป จ่ายเงินสบทบ 180 เดือนพอดี ครบอายุ 55 ปี และสิ้นสุดเป็นผู้ประกันตน นายแฟรงค์จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็น 20% x 15,000 = 3,000 บาทต่อเดือน

  • แต่ถ้าจ่ายเงินสบทบเกิน 180 เดือน ใช้สูตร 20% + [1.5% x (จำนวนปีจ่ายเงินสมทบ - 15 ปี)]

ตัวอย่างเช่น : กรณีจ่ายเงินสบทบมาแล้ว 20 ปี จะคิดเป็น 20% + [1.5x(20-15)] = 20% + [1.5x5] เท่ากับ 27.5% แล้วนำมาคูณกับฐานเงินเดือนอีกครั้ง เช่น นางจริงใจมีรายได้ 15,000 บาท/เดือนขึ้นไป = 15,000 x 27.5% = 4,125 บาท/เดือนตลอดชีวิต
หรือกรณีที่นางจริงใจได้รับเงินบำนาญชราภาพ แล้วเสียชีวิตภายใน 5 ปี ทายาทผู้มีสิทธิ์จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน คิดเป็น 4,125 x 10 เท่า เป็นเงินทั้งหมด 41,250 บาท

การรับเงินเกษียณต้องทำเมื่อไหร่?

เงินสมทบชราภาพ
หากคุณจ่ายเงินสมทบประกันสังคมตามที่กำหนด พออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ คุณก็ต้องลาออกจากประกันสังคมก่อน  แล้วยื่นเรื่องเบิกเงินค่าบำเหน็จหรือบำนาญภายใน 1 ปีหลังจากลาออกจากกองทุนประกันสังคม นั่นหมายความว่าคุณจะหมดสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ค่ารักษาพยาบาลบาดเจ็บ ค่าทำฟัน และค่าคลอดบุตร เป็นต้น ดังนั้น กรณีประสบอุบัติเหตุขึ้นมาก็ต้องควักเงินในกระเป๋าจ่ายเอง หรือเลือกทำประกันอุบัติเหตุเพื่อช่วยให้ดูแลค่ารักษาพยาบาลของคุณได้ 
เพราะฉะนั้น การจ่ายเงินประกันสังคมชราภาพทุกๆ เดือนนั้น ถือเป็นประโยชน์ให้กับคุณในอนาคตได้ดีเลยล่ะ ยามวัยเกษียณก็มีเงินบำเหน็จก้อนโตไว้ใช้ หรือเงินบำนาญเลี้ยงชีพรายเดือนตลอดชีวิต แต่ถึงอย่างไรก็ไม่อุ่นใจเท่าคุณมีประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลกับ Frank.co.th ให้ช่วยดูแลอีกทาง หากเกิดประสบอุบัติเหตุ ก็สามารถเบิกค่ารักษาได้ทันทีกว่า 400 แห่งในโรงพยาบาล (ไม่ต้องสำรองจ่าย) แถมยังคุ้มครองกรณีกระดูกหัก ตลอด 24 ชั่วโมงด้วย เหมาะสำหรับคนที่มีความเสี่ยงมากๆ เพื่อเป็นหลักประกันว่ามีคนช่วยคุ้มครองคุณนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.sso.go.th

ประกันอุบัติเหตุ

The post เกษียนแล้วเบิกเงินบำเหน็จบำนาญ ประกันสังคมยังไง? appeared first on Bolttech Blog - News & Updates.

]]>
การลงทุนแบบพื้นฐานสำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา! https://www.bolttech.co.th/blog/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%90%e0%b8%b2%e0%b8%99-%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%a9%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%2581%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%25a3%25e0%25b8%25a5%25e0%25b8%2587%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%25b8%25e0%25b8%2599%25e0%25b9%2581%25e0%25b8%259a%25e0%25b8%259a%25e0%25b8%259e%25e0%25b8%25b7%25e0%25b9%2589%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%2590%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%2599-%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%25b5%25e0%25b9%2588%25e0%25b9%2580%25e0%25b8%25ab%25e0%25b8%25a1%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%25b0%25e0%25b8%2581%25e0%25b8%25b1%25e0%25b8%259a%25e0%25b8%25a1%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%25b8%25e0%25b8%25a9%25e0%25b8%25a2%25e0%25b9%258c%25e0%25b9%2580%25e0%25b8%2587%25e0%25b8%25b4%25e0%25b8%2599%25e0%25b9%2580%25e0%25b8%2594%25e0%25b8%25b7%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2599 https://www.bolttech.co.th/blog/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%90%e0%b8%b2%e0%b8%99-%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%a9%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99#comments Wed, 31 Oct 2018 10:37:20 +0000 https://www.bolttech.co.th/blog?p=4438 ใครล่ะที่ชอบตื่นเช้า วิ่งเจ้นมาทำงานแถมที่กองอยู่ข้างหน้าเหมือนเดิมทุกวัน ช็อปปิ้งหมดไปแต่ละครั้งก็เหมือนทำงานไม่ได้อะไรตอบแทนกลับมา เหนื่อยไหมครับ? หากคุณลองมองเป้าหมายใน 2 ปีข้างหน้าคุณเห็นอะไร นั่นก็คือเส้นทางที่คุณจำเป็นต้องปูทางตั้งแต่วันนี้  สำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเราที่ต้องหาเช้ากินค่ำ หรือแม้แต่ ต้องใช้จ่ายแ

The post การลงทุนแบบพื้นฐานสำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา! appeared first on Bolttech Blog - News & Updates.

]]>
ใครล่ะที่ชอบตื่นเช้า วิ่งเจ้นมาทำงานแถมที่กองอยู่ข้างหน้าเหมือนเดิมทุกวัน ช็อปปิ้งหมดไปแต่ละครั้งก็เหมือนทำงานไม่ได้อะไรตอบแทนกลับมา เหนื่อยไหมครับ? หากคุณลองมองเป้าหมายใน 2 ปีข้างหน้าคุณเห็นอะไร นั่นก็คือเส้นทางที่คุณจำเป็นต้องปูทางตั้งแต่วันนี้  สำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเราที่ต้องหาเช้ากินค่ำ หรือแม้แต่ ต้องใช้จ่ายแบบเดือนชนเดือนแล้ว สิ่งที่จะทำให้เรามีเงินเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน และยามเกษียณก็คงหนีไม่พ้นการเก็บออม และการลงทุนในรูปแบบต่างๆ หลากหลายกองทุน ซึ่งการลงทุนนี้ก็มีไว้เพื่อเป้าหมายระยะยาวของคุณนั่นเอ

การลงทุนที่ใครก็ทำได้มีอะไรบ้างล่ะ?

  1. การฝากเงินออมทรัพย์
  2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  3. กองทุน LTF, RMF

 

1.การฝากประจำ

การออมทรัพย์หรือการฝากประจำ เป็นการลงทุนแบบพื้นฐานที่ดีที่สุด ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ต้องการเริ่มออมเงิน แฟรงค์อยากแนะนำให้ออมในบัญชีที่ไม่มีบัตรเดบิตไว้ เพราะนี่จะช่วยป้องกันการกดเงินใช้ของคุณ เพียงเริ่มบัญชีใหม่สำหรับการออมเงินโดยเฉพาะ การฝากประจำนั้นจะยังสร้างวินัยในการออมได้ดีอีกด้วยครับเช่น ฝากประจำระยะยาว หรือบัญชีเงินฝากระยะยาว นั้นเราสามารถกำหนดได้ว่า เราอยากฝากกี่เดือน ซึ่งมีให้เราเลือกตั้งแต่ 3,6,12,24 เดือนเป็นต้นครับ ถามว่าเราจำเป็นต้องฝากเดือนละเท่าไหร่ดี แฟรงค์แนะนำให้คุณ "ออมเงินเป็นจำนวน 30% ของเงินเดือนที่คุณได้รับ แต่หากคุณจำเป็นต้องใช้จ่ายหนี้สินหรืออย่างอื่น ต่ำสุดก็คือ 20% ของเงินเดือน" ระหว่างการออมเงินนี้หากคุณต้องการเห็นเลขเงินออมที่ดูสวยงามก็พยายามห้ามกดออกมาใช้ก่อนนะครับ ซึ่งข้อดีของการฝากระยะยาวนี้คือ หากคุณยิ่งฝากเงินเข้าไปมากเท่าไหร่ก็จะได้รับดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นสูงตามจำนวนเงินในทุกเดือน การฝากอีกแบบที่คุณทำได้คือการโอนเงินอัตโนมัติเข้าไปในบัญชีฝากของคุณเพื่อกันหรือและรักษาความสม่ำเสมอในการฝาก 
 

2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

หลายคนคงต้องคุ้นหน้าคุ้นตากับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแน่นอนครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราทำงานประจำ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็คือ การที่ลูกค้าได้จ่ายเงินเข้ากองทุน 2-15% (เงินสะสม) และ นายจ้างได้ร่วมจ่ายเข้ากองทุนไปอีก 15% (เงินสมทบ) ซึ่งตามกฎหมายก็คือ นายจ้างจำเป็นต้องจ่ายมากกว่าเงินสะสมของลูกจ้างเท่านั้น หลังจากนั้นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนก็จะนำเงินก่อนนั้นไปลงทุนทางการเงินและจ่ายเฉลี่ยกลับมาเป็นดอกเบี้ย หรือผลตอบรับที่ได้แก่นายจ้างและลูกจ้าง โดยบริษัทส่วนมากมักจะมีให้เราเลือกสวัสดิการสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพครับ ซึ่งเป็นการบังคับว่าหากพนักงานเก็บออมและร่วมลงทุนกับทางบรืษัท ก็เพื่อให้พนักงานในบริษัทมีเงินสำรองไว้ใช้ยามเกษียณ หรือยามลาออกนั่นเองครับ ซึ่งจุดเด่นของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นคือ เราสามารถเลือกได้ว่าจะให้บริษัทตัดเงินเดือนเราเท่าไรเพื่อนำเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งตามปกติจะเลือกได้ที่ 2-15% ครับ

3. กองทุนรวม LTF, RMF

ในทุกปี เราต้องยื่นภาษีและลดหย่อนภาษี "LTF RMF" กันใช่หรือเปล่าครับ หากคุณเป็นพนักงานประจำก็คงจำเป็นต้องเสียภาษีทุกปีอยู่แล้ว  ซึ่งบางคนก็อาจะยังไม่แน่หากเราควรซื้อหรือไม่ควรซื้อดีนะ?

  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ Long Term Equity Fund

เป็นกองทุนที่เน้นหุ้น 65% ของมูลค่ากองทุน ส่วนตัวของ LTF นี้จะทำให้ตลาดหุ้นมีสภาพคล่องมีความเสถียรภาพมากขึ้นเพื่อลดหย่อนภาษี ทั้งนี้กองทุนรวมประเภท LTF RML สามารถเลือกจ่ายเงินปันผลหรือไม่จ่ายเงินปันผลก็ได้ เงื่อนไขที่สำคัญของ LTF นั้นคือคุณจำเป็นต้องถือหุ้น LTF มากถึง 7 ปีเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีกันต่อไป

  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ Retirement Mutual Fund

เป็นกองทุนระยะยาวเหมาะกับช่วงเกษียณอย่างมาก ข้อดีของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพก็คือ เราสามารถสับเปลี่ยนกองทุนได้ตามสภาวะเศรษฐกิจ และยืดหยุ่นตามความต้องการแต่ละช่วงเวลา ซึ่ง RMF คุณจำเป็นต้องลงทุนทุกปีไปเรื่อยแม้แต่ตอนเกษียณซึ่งขั้นต่ำก็คือ 3% ของเงินที่ได้ในปีนั้น หากต้องการเทียบค่าลดหย่อนภาษีจะคำนวณได้จาก เงินทุน RMF + กองทุนเลี้ยงชีพ/กบข. + ประกันชีวิตบำนาญ ทั้งหมดรวมกันจะต้องไม่เกิน 15% ของจำนวนเงินที่คุณต้องเสียภาษี หรือ ไม่เกิน 500,000 บาทนั่นเอง
 
3 วิธีการออมนี้ เหมาะเป็นพื้นฐานสำหรับพนักงานออฟฟิศครับ เพราะเป็นทั้งบัญชีเงินฝากและกองทุนที่มี่ความเสี่ยงน้อย แต่ก็ได้ค่าตอบแทนที่พอให้เราดีใจเมื่อเราถอนออกมาหรือขายกองทุนออกมาครับ และหากสนใจในเรื่องของประกันสุขภาพเพื่อการลดหย่อนภาษี สามารถเข้ามาดูได้ แค่คลิกที่นี่ ครับ หรือสอบถามได้ทาง Line@ : @masii ครับ  
 
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก www.masii.com
 

The post การลงทุนแบบพื้นฐานสำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา! appeared first on Bolttech Blog - News & Updates.

]]>
https://www.bolttech.co.th/blog/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%90%e0%b8%b2%e0%b8%99-%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%a9%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99/feed 1