Bolttech Insurance Broker
LinePhone

เคลือบแก้ว คืออะไร? มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง

ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึง สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเคลือบสีรถใหม่ไปแล้ว หากใครที่กำลังตัดสินใจเคลือบแก้ว เผื่อต้องการให้สีผิวติดแน่น และดูเงางามมากกว่าการเคลือบแว็กซ์ แต่ถึงอย่างไรก็ตามการเคลือบแก้วก็มีข้อเสียตามมาด้วย วันนี้เรามีคำตอบมาเฉลยด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับคุณได้

เคลือบแก้ว คืออะไร?

เคลือบแก้ว

เคลือบแก้ว คือ นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นจากการเคลือบสีรถแบบแว็กซ์ (Waxเป็นการใช้นำยาสูตรพิเศษที่มีส่วนผสมของซิลิกา (Silica) และเป็นสารประกอบของ Quartz หรือผลึกแก้ว นำมาเคลือบสีรถเพื่อเพิ่มความหนาของชั้น เวลาเคลือบจะเป็นลักษณะเหมือนฟิล์มแก้วบางๆ ทำให้รถดูเงางาม 

เคลือบแก้ว

เคลือบแก้ว มีข้อดีอะไรบ้างที่ต้องรู้ 

เคลือบแก้วรถยนต์ ถือเป็นวิธีการรูปแบบใหม่ที่ผู้ใช้รถนิยมทำไม่แพ้เคลือบสี ในปัจจุบันนี้เคลือบแก้วมีหลายประเภท ได้แก่ เคลือบแก้วแบบทา และ เคลือบแก้วแบบพ่น ซึ่งแต่ละประเภทจะมีประโยชน์ดังต่อไปนี้

1. เคลือบแก้วทำให้รถเงางามขึ้น

เนื่องจากนวัตกรรมการเคลือบแก้วได้เพิ่มความเงางามของชั้นฟิลม์บนสีรถ จึงทำให้รถของคุณดูสวย เงางาม และดูโดดเด่นมากกว่าการเคลือบสีรถประเภทอื่นๆ ทั้งนี้ความเงาของรถจะติดทนนานกว่า 1 ปีเชียวนะ (ขึ้นอยู่กับน้ำยาเคลือบแต่ละยี่ห้อด้วย) 

เคลือบแก้ว

2. เคลือบแก้วช่วยลดรอยขนแมวรอยขีดข่วน 

ในปัจจุบันนี้น้ำยาเคลือบรถ มีการพัฒนาให้มีค่าความแข็งเพื่อป้องกันสีรถได้ค่อนข้างดี ทำให้ป้องกันรอยขนแมว รอยขีดข่วนได้มากกว่าปกติ แล้วขณะที่รถเป็นรอย ก็จะเห็นรอยที่เคลือบแก้ว ไม่ได้เกิดบนแลคเกอร์รถ เหมาะสำหรับคนที่ดูแลรักษารถโดยเฉพาะ 

3. เคลือบแก้วลดการเกาะของน้ำ

การเคลือบแก้ว ยังมีประโยชน์ในการป้องกันสิ่งสกปรก ทำให้น้ำเกาะสีรถได้ยากขึ้น หากสังเกตง่ายๆ คือ เราจะเห็นหยดน้ำบนชั้นสีรถ มีลักษณะกลมนูน และหยดน้ำสามารถกลิ้งได้ เคลือบแก้วจึงเปรียบเสมือนเกาะป้องกันชั้นผิวรถ 

เคลือบแก้ว

4. เคลือบแก้วป้องกันสิ่งสกปรก

ส่วนเรื่องของสิ่งสกปรกอย่างเศษหิน ดิน ทราย หรือคราบสกปรกจากมูลนก การเคลือบแก้วยังสามารถลดการเกิดสิ่งสกปรกต่างๆ คราบไม่ฝังแน่นบนสีรถ แถมยังช่วยให้รถดูใหม่ และไม่เก่าโทรม 

5. เคลือบแก้วยืดอายุการใช้งานสีรถ

นอกจากนี้การเคลือบแก้ว ได้เพิ่มความทนทานต่อการชะล้าง แรงดันน้ำ ทำให้สีรถติดแน่นได้มากกว่าการเคลือบสีรถแบบแว็กซ์ ช่วยยืดอายุความสดของสีรถให้คงทน

ประกันรถยนต์

เคลือบแก้ว มีข้อเสียอะไรบ้างที่ต้องรู้ 

ถึงแม้ว่าเคลือบแก้วดียังไง แต่ก็มีข้อเสียตามมาเช่นกัน หากคุณกำลังตัดสินใจเคลือบแก้วรถยนต์ เราควรศึกษาทั้งข้อดีและข้อเสียด้วย ก่อนตัดสินใจทำ!

เคลือบแก้ว

1. ความยากในการเคลือบแก้ว

การเคลือบแก้วมีความยากในการทำ จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์พิเศษ ต่างจากการเคลือบแว็กซ์ครีมที่เตรียมอุปกรณ์ไม่กี่อย่าง ก็สามารถทำได้เอง แต่การเคลือบแก้วควรให้ผู้เชี่ยวชาญทำโดยเฉพาะ มิเช่นนั้นอาจทำให้เคลือบสีรถไม่สม่ำเสมอ ทำให้ปัจจุบันนี้มีศูนย์ให้บริการเคลือบแก้วมากขึ้น 

2. เคลือบแก้วราคาค่อนข้างแพง

เมื่อเราต้องใช้อุปกรณ์น้ำยาเคลือบเเบบพิเศษ มีความทนทาน และเงางาม ยิ่งทำให้การเคลือบแก้วมีราคาสูงกว่าการเคลือบสีแว็กซ์หลายเท่าตัว แล้วถ้าขนาดตัวถังรถใหญ่ ราคาก็จะแพงขึ้นด้วย โดยการเคลือบแก้วราคาจะต่างกันขึ้นอยู่แต่ละแพ็คเกจของศูนย์ให้บริการ เริ่มต้นตั้งแต่หลักหมื่นขึ้นไป

เคลือบแก้ว

3. เคลือบแก้วไม่ได้ป้องกันริ้วรอยเสมอไป

แน่นอนว่าเคลือบแก้วได้ช่วยลดรอยขีดข่วน รอยขนแมวได้ดี แต่ใช่ว่าจะกันริ้วรอยได้เสมอไป เพราะบางคนข้าใจว่าเคลือบแก้วจะทนได้ทุกรอยขีดข่วน แต่ในความเป็นจริงคือหากผิวรถถูกรอยขีดข่วนหนักๆ ก็ไม่สามารถทนได้อยู่ดี ดังนั้นการดูแลรักษารถยนต ไม่ให้เป็นรอยข่วนจะดีที่สุด 

หากดูแลรักษารถอย่างดี ไม่มีรอยขีดข่วน หรือมีงบประมาณจำกัด เราอาจใช้แบบเคลือบแว็กซ์ หรือเคลือบซิลิโคนได้ แต่ถ้าใครที่กังวลใจเรื่องรอยขีดข่วน เพิ่งซื้อรถมาใหม่ๆ และมีงบเพียงพออยู่แล้ว ก็สามารถทำเคลือบแก้วได้ตามความเหมาะสม

ดูแลรถยังไม่อุ่นใจ เท่ามีประกันภัยรถยนต์!เพราะประกันรถยนต์จะช่วยคุ้มครองรถของคุณเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ค่าซ่อมก็ไม่ต้องจ่ายเอง ไม่ว่าจะเป็นประกันชั้น1 ประกันชั้น2 หรือประกันชั้น 3+ หมดห่วงถ้ามีคนดูแลรถของคุณ!

ประกันรถยนต์

 

Sleeping Blogger

Content Writer ผู้ที่รักงานเขียนเป็นชีวิตจิตใจ ชอบเล่าเรื่อง แชร์ความรู้ใหม่ๆ หรือไอเดียง่ายๆ ที่เป็นสไตล์ของตัวเอง อยากให้เพื่อนๆ สนุกไปด้วยกัน!

เชื่อมต่อ กับพวกเรา

รับข่าวสารล่าสุดและข้อเสนอโดยติดตามเราในช่องโปรดของคุณ
LineFacebook
Bolttech
บริษัท โบลท์เทค อินชัวร์นส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ใบอนุญาตินายหน้าประกันภัยหมายเลข
00017/2559
หมายเลขจดทะเบียนนิติบุคคล
0105559056161
รับรองความปลอดภัย และ อยู่ภายใต้ความควบคุม ของ
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
Security & Compliances
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
bolttech © 2021 All Rights Reserved.