Bolttech Insurance Broker
LinePhone

PDPA คืออะไร มีประโยชน์อะไร?

นักธุรกิจต้องรู้! กฎหมายเริ่มประกาศใช้ PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เพื่อให้สิทธิ์กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และนำไปใช้ให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA จะมีบทลงโทษตามที่กำหนด 

PDPA คือ อะไร ?

กฎหมาย pdpa (Personal Data Protection Act) คือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้สิทธิ์กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล  สร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต ก่อนการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่  1 มิถุนายน 2565 

เช่น การถ่ายรูป ถ่ายคลิปติดคนอื่น แล้วเผยแพร่โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล เพื่อแสวงหากำไรทางการค้า ทำให้เจ้าของข้อมูลเสียหาย สามารถโดนฟ้องร้องเอาผิดฐานละเมิดสิทธิ์ได้ 

ตัวอย่าง ข้อมูลส่วนบุคคล ที่อยู่ในความคุ้มครอง PDPA

PDPA คืออะไร

ส่วนบุคคลทั่วไป

  • ชื่อ-นามสกุล 
  • เบอร์โทรศัพท์ อีเมลส่วนตัว ที่อยู่ปัจจุบัน 
  • เลขบัตรประชาชน 
  • เลขหนังสือเดินทาง 
  • เลขใบอนุญาตขับขี่ 
  • ข้อมูลทางการศึกษา 
  • ข้อมูลทางการเงิน 
  • ข้อมูลทางการแพทย์ 
  • ทะเบียนรถยนต์ 
  • โฉนดที่ดิน 
  • ทะเบียนบ้าน 
  • วันเดือนปีเกิด 
  • สัญชาติ 
  • น้ำหนักส่วนสูง 
  • ข้อมูลบนอื่น ๆ บนอินเทอร์เน็ตที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น Username /password, Cookies IP address, GPS Location 

pdpa คือ

ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว

กฎหมาย PDPA ยังให้ระวังเรื่องของการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว เพราะบางเรื่องอาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูล และทำให้เจ้าของข้อมูลเสียหายได้ 

  • เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ 
  • ความคิดเห็นทางการเมือง 
  • ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา 
  • พฤติกรรมทางเพศ 
  • ประวัติอาชญากรรม 
  • ข้อมูลด้านสุขภาพ ความพิการ เช่น โรคประจำตัว การฉีดวัคซีน ใบรับรองแพทย์ 
  • ข้อมูลสหภาพแรงงาน 
  • ข้อมูลพันธุกรรม 
  • ข้อมูลชีวภาพ เช่น ลายนิ้วมือ แบบจำลองใบหน้า ข้อมูลม่านตา 

แต่ถ้าข้อมูลไหนที่ไม่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้ ไม่ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล และไม่อยู่ภายใต้บังคับตาม PDPA

pdpa

PDPA มีประโยชน์อย่างไร?

กฎหมายฉบับนี้ มีประโยชน์ต่อคนไทยทุกคน ทั้งองค์กรส่วนภาครัฐและเอกชน ดังต่อไปนี้

  1. ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลได้รับการจัดเก็บอย่างปลอดภัย มีมาตรฐาน
  2. ลดความเดือดร้อน ความเสี่ยง ความเสียหายจากการถูกละเมิดข้อมูล
  3. มีสิทธิ์ทราบวัตถุประสงค์ของการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเผยแพร่ข้อมูล
  4. มีสิทธิ์เข้าถึง ขอให้ลบ ทำลาย แก้ไข ระงับ ยกเลิก หรือถอนความยินยอมการใช้
  5. มีสิทธิ์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หากโดนละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคล หรือถูกละเมิดนอกเหนือวัตถุประสงค์ที่แจ้งไว้

ความรับผิดและบทลงโทษ 

ความรับผิดทางแพ่ง

  • ผู้กระทำละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าการดำเนินการนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ก็ตาม
  • ศาลมีอำนาจสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมได้สองเท่าของค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริง

โทษอาญา 

  • กำหนดบทลงโทษทางอาญาไว้สำหรับความผิดร้ายแรง เช่น การใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนโดยมิชอบ ล่วงรู้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นแล้วนำไปเปิดเผยแก่ผู้อื่นโดยมิชอบ
  • ระวางโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล กรรมการหรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นอาจต้องร่วมรับผิดในความผิดอาญาที่เกิดขึ้น

โทษทางปกครอง 

  • กำหนดโทษปรับทางปกครองสำหรับการกระทำความผิดที่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ไม่แจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ ขอความยินยอมโดยหลอกลวงเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่แต่งตั้ง DPO เป็นต้น
  • โทษปรับทางปกครองสูงสุด 5,000,000 บาท

ถ้าคุณต้องการจัดเก็บ ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น ต้องเป็นไปตามสัญญาที่ระบุไว้กับเจ้าของข้อมูลเท่านั้น กรณีนอกเหนือจากสัญญาที่แจ้งไว้ต้องขอคำยินยอม (Concent) จากเจ้าของข้อมูลก่อน

ส่วนเจ้าของข้อมูลต้องพิจารณาอย่างละเอียดว่า การยินยอมให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไร หากพบว่าเป็นการใช้ข้อมูลในทางที่ผิด คุณสามารถปฏิเสธการให้ข้อมูลส่วนบุคคลได้ 

ถ่ายรูปติดทะเบียนรถของคนอื่น แล้วลงโซเชี่ยลผิดกฎหมายหรือไม่

กฎหมาย pdpa

เนื่องจากป้ายทะเบียนรถเป็นหนึ่งในข้อมูลส่วนบุคคล ที่อยู่ในความคุ้มครอง pdpa ต้องระวังเรื่องการให้ข้อมูลส่วนนี้ด้วย เช่น การถ่ายภาพทะเบียนรถคนอื่นแบบไม่เซ็นเซอร์ และเผยแพร่โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล อาจทำให้เจ้าของข้อมูลได้รับความเสียหายได้ เพราะมิจฉาชีพอาจแฝงตัวอยู่ในโลกโซเชียล โดนมิจฉาชีพสวมทะเบียนหรือปลอมแปลงข้อมูลได้ ดังนั้น อย่าลืมเซ็นเซอร์เลขทะเบียนรถคนอื่น แต่ถ้าไม่อยากเซ็นเซอร์ให้เสียเวลา แนะนำให้เลือกมุมถ่ายที่เลี่ยงการเห็นป้ายทะเบียนจะดีกว่า 

เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ ราคาโดนใจ ที่ bolttech.co.th สะดวก รวดเร็ว เลือกแผนประกันได้ตามใจคุณ พร้อมโปรโมชันผ่อนบัตร 0% สูงสุด 10 เดือน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการ และคำแนะนำประกันรถที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

ประกันรถยนต์

Sleeping Blogger

Content Writer ผู้ที่รักงานเขียนเป็นชีวิตจิตใจ ชอบเล่าเรื่อง แชร์ความรู้ใหม่ๆ หรือไอเดียง่ายๆ ที่เป็นสไตล์ของตัวเอง อยากให้เพื่อนๆ สนุกไปด้วยกัน!

เชื่อมต่อ กับพวกเรา

รับข่าวสารล่าสุดและข้อเสนอโดยติดตามเราในช่องโปรดของคุณ
LineFacebook
Bolttech
บริษัท โบลท์เทค อินชัวร์นส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ใบอนุญาตินายหน้าประกันภัยหมายเลข
00017/2559
หมายเลขจดทะเบียนนิติบุคคล
0105559056161
รับรองความปลอดภัย และ อยู่ภายใต้ความควบคุม ของ
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
Security & Compliances
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
bolttech © 2021 All Rights Reserved.