Bolttech Insurance Broker
LinePhone

กระดูกหักมีกี่ประเภท พร้อมวิธีการรักษา

กระดูกหัก (Bone Fracture) มักเกิดขึ้นได้บ่อยจากอุบัติเหตุที่รุนแรง อย่างเช่น หกล้ม ตกบันได โดนรถชน เป็นต้น ส่งผลให้กระดูกได้รับแรงกระแทก ทำให้กระดูกหักได้ง่าย เพราะกระดูกเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากของร่างกายที่ช่วยในการเคลื่อนไหว ถึงจะไม่ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่หากไม่รีบทำการรักษาก็อาจเป็นอันตรายถึงขั้นพิการได้

กระดูกหัก มีทั้งหมดกี่ประเภท ?

กระดูกหักมีกี่ประเภท

โดยทั่วไปแล้ว กระดูกหักแบ่งได้ 2 ประเภท คือ กระดูกหักชนิดไม่มีแผล (Closed Fracture) และ กระดูกหักแบบแผลเปิด (Open หรือ Compound Fracture)  

  1. กระดูกหักชนิดไม่มีแผล (Closed Fracture) คือ กระดูกภายในหัก แต่ผิวหนังไม่ได้รับการบาดเจ็บแต่อย่างใด
  2. กระดูกหักแบบแผลเปิด (Open หรือ Compound Fracture) คือ กระดูกที่ทิ่มผิวหนังออกมา หรือได้รับบาดเจ็บจนผิวหนังเปิด เป็นอันตรายเสี่ยงบาดแผลติดเชื้อได้ง่าย 

กระดูกหัก สามารถแบ่งตามลักษณะของกระดูกที่หักได้หลายประเภท ดังนี้ 

  • กระดูกยุบตัว (Compression Fracture) คือ กระดูกเกิดการยุบตัวเมื่อได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง 
  • กระดูกหักเป็นเกลียว (Spiral Fracture) คือ กระดูกที่หักเป็นเกลียว ซึ่งเกิดจากกระดูกถูกบิด 
  • กระดูกเดาะ (Greenstick Fracture) คือ กระดูกบางส่วนหัก ส่วนกระดูกอีกด้านโก่ง มักเกิดขึ้นกับเด็ก 
  • กระดูกแตกย่อย (Comminuted Fracture) คือ กระดูกหักแตกออกเป็นชิ้นๆ 
  • กระดูกหักตามขวาง (Transverse Fracture) คือ กระดูกที่แตกออกตามแนวขวางซึ่งเป็นส่วนที่สันของกระดูก ไม่ได้เกิดรอยแตกไปตามแนวยาวของกระดูก 
  • กระดูกหักเฉียง (Oblique Fracture) คือ กระดูกที่เกิดการแตกเป็นแนวโค้งหรือลดหลั่นลงมา 
  • ปุ่มกระดูกแตก (Avulsion Fracture) คือ กระดูกที่หักจากแรงกระชาก มักพบที่หัวไหล่และหัวเข่า 
  • กระดูกหักยุบเข้าหากัน (Impacted Fracture) คือ กระดูกแตกทั้ง 2 ด้านจากแรงกด 
  • กระดูกหักล้า (Stress Fracture) คือ กระดูกที่ปริออกจากกัน ซึ่งเกิดจากการใช้งานซ้ำๆ พบมากในผู้ที่เล่นกีฬา 
  • กระดูกหักผ่านรอยโรค (Pathologic Fracture) คือ กระดูกหักที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของกระดูกหรือการป่วยเป็นโรคที่ทำให้มวลกระดูกเสื่อมลง 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการกระดูกหัก แขนหัก ขาหัก

กระดูกหัก แขนหัก ขาหัก

กระดูก เป็นอวัยวะที่เเข็งแรงภายในร่างกาย ทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวของร่างกาย แต่ถ้ากระดูกได้รับแรงกระแทกรุนแรง อาจทำให้กระดูกหัก กระดูกแตก แขกหัก ขาหัก ไหปลาร้าหัก เป็นต้น ล้วนเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด เช่น

  • ประสบอุบัติเหตุรถชน 
  • ตกลงมาจากที่สูง 
  • ตกลงมากระแทกพื้นที่เเข็งมาก 
  • ถูกตีหรือได้รับการแทกรุนแรง 
  • เล่นกีฬาที่ต้องลงน้ำหนักมากเกินไป เช่น เล่นสกี เล่นฟุตบอล 
  • การทำกิจกรรมต่างๆ แล้วประสบอุบัติเหตุ  

นอกจากอุบัติเหตุที่เกิดจากแรงกระแทก ส่งผลให้กระดูกแตกหักแล้ว หากป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนหรือมะเร็งบางชนิด ก็อาจทำให้กระดูกเสื่อมหรือหักได้ง่ายเช่นกัน 

เมื่อกระดูกหักรักษาอย่างไรบ้าง? 

ในขณะที่เกิดอุบัติเหตุจนกระดูกหักขึ้นมา เช่น แขนหัก ขาหัก และไม่อยู่ในระดับที่รุนแรงมากนัก สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ มาอ่าน วิธีปฐมพยาบาลกรณีกระดูกหัก ได้ที่นี่

แต่ถ้าคุณจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ ทางแพทย์จะเป็นผู้เช็กอาการ เอกซเรย์ตำแหน่งของกระดูกหัก โดยทำการรักษากระดูกหัก ทั้งหมด 2 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

1. การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

กระดูกหัก ไม่ผ่าตัด

เป็นวิธีเข้าเฝือก ด้วยการจัดเรียงแนวกระดูกที่ได้รับบาดเจ็บให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ปกติ จากนั้นค่อยใส่เฝือกให้ช่วยพยุงกระดูกที่หัก  ไม่ให้บริเวณนั้นได้รับการเคลื่อนไหว มักเข้าเฝือกกระดูกส่วนแขนหรือขาท่อนล่างมากที่สุด ส่วนกระดูกหักที่ไม่สามารถเข้าเฝือกได้ในทันทีเช่น กระดูกไหปลาร้าหัก แพทย์จะใช้อุปกรณ์คล้องแขนช่วยพยุงแขนแทน และฟื้นฟูกระดูกให้เร็วที่สุด 

2. การรักษาแบบผ่าตัด

กระดูกหักผ่าตัด

กระดูกหัก ไม่ใส่เฝือก ถึงขั้นรุนแรงทำให้ผิวหนังได้รับบาดเจ็บด้วย อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัด ใส่หมุด แผ่นเหล็ก สกรูหรือกาว ที่ช่วยให้กระดูกยึดเข้าไว้ด้วยกัน  หลังจากนั้นแพทย์จึงให้ใส่เฝือก หาอุปกรณ์ต่างๆ มาช่วยดามบริเวณที่กระดูกหัก เป็นต้น 

ในช่วงระหว่างการพักฟื้น หากผู้ได้รับบาดเจ็บมีอาการเจ็บปวด ปวดร้าวกระดูก สามารถทายาแก้ปวดเพื่อลดอาการแก้ปวดได้ โดยเป็นไปตามดุลพินิจของแพทย์เท่านั้น 

สิ่งที่เราควรปฏิบัติเมื่อเข้าเฝือก

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น กระดูกหัก

  • ไม่ควรเข้าใกล้ของร้อนหรือที่มีอุณหภูมิสูง เพื่อป้องกันปูนจากเฝือกละลาย 
  • นำถุงพลาสติกมาหุ้มเฝือกและปิดให้สนิทเมื่อต้องอาบน้ำ พยายามไม่ให้เฝือกเปียกน้ำ 
  • ยกแขนหรือขาส่วนที่เข้าเฝือกให้สูงกว่าระดับลำตัว โดยเฉพาะใน 24 ชั่วโมงแรกเพื่อลดอาการบวม 
  • หากเกิดอาการคัน ห้ามเกาเด็ดขาดเพราะอาจทำให้แผลถลอกได้ ควรใช้ที่เป่าผมบริเวณที่ใส่เฝือกอ่อน 
  • หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวส่วนที่กระดูกหัก 
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก 
  • หลีกเลี่ยงการขับรถจนกว่าอาการจะดีขึ้น 
  • ไม่ควรตัด แต่ง หรือถอดเฝือกด้วยตนเอง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียต่อกระดูกได้ เช่น กระดูกคดงอ 
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด 

หลังจากถอดเฝือกแล้ว ต้องปฏิบัติตนอย่างไร? 

ถอดเฝือก

หลังจากแพทย์เริ่มให้ถอดเฝือก หรืออุปกรณ์ที่ช่วยดามกระดูก ในช่วงแรกผู้ได้รับบาดเจ็บอาจเกิดอาการข้อติดเเข็ง บวม มีเนื้อปูดอยู่  แต่อาการเหล่านี้จะดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์ กระดูกหักจะใช้เวลาฟื้นตัวประมาณ 4-6 สัปดาห์ก่อนที่จะกลับมาแข็งแรง  

ผู้ได้รับบาดเจ็บควรทำความสะอาดบริเวณนั้นเบาๆ ด้วยสบู่หรืออาจทาครีมโลชั่นเพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื่น พยายามไม่ใช้งานอวัยวะส่วนนั้นเต็มที่จนกว่ากล้ามเนื้อจะเเข็งแรง แต่ถ้ารู้สึกมีอาการปวดกระดูก บวม แนะนำให้หาคุณหมอเพื่อเช็กอาการอีกครั้ง

เจ็บหนักแค่ไหน ประกันอุบัติเหตุ ก็ช่วยได้ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ ชดเชยรายได้รายวันระหว่างรักษาตัว ครอบคลุมอุบัติเหตุจากการขับขี่หรือซ้อนรถมอเตอร์ไซค์ เบี้ยเริ่มเพียง 850 บาท/ปี เท่านั้น!

ประกันอุบัติเหตุ

Sleeping Blogger

Content Writer ผู้ที่รักงานเขียนเป็นชีวิตจิตใจ ชอบเล่าเรื่อง แชร์ความรู้ใหม่ๆ หรือไอเดียง่ายๆ ที่เป็นสไตล์ของตัวเอง อยากให้เพื่อนๆ สนุกไปด้วยกัน!

เชื่อมต่อ กับพวกเรา

รับข่าวสารล่าสุดและข้อเสนอโดยติดตามเราในช่องโปรดของคุณ
LineFacebook
Bolttech
บริษัท โบลท์เทค อินชัวร์นส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ใบอนุญาตินายหน้าประกันภัยหมายเลข
00017/2559
หมายเลขจดทะเบียนนิติบุคคล
0105559056161
รับรองความปลอดภัย และ อยู่ภายใต้ความควบคุม ของ
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
Security & Compliances
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
bolttech © 2021 All Rights Reserved.