Bolttech Insurance Broker
LinePhone

สิทธิลดหย่อนภาษี 2564 มีอะไรบ้าง?

วางแผนลดหย่อนภาษี 2563 เพื่อยื่นลดหย่อนภาษี 2564 สำหรับมนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพียงรวบรวมเอกสารให้ถูกต้องและครบถ้วน จากนั้นยื่นที่กรมสรรพากรหรือยื่นภาษีออนไลน์ ก็จะช่วยให้เราเสียภาษีน้อยลง แต่ก่อนอื่นคุณจะต้องรู้ว่าสิทธิลดหย่อนภาษี 2564 มีอะไรบ้าง วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลคร่าวๆ มาให้แล้ว เพื่อจะได้เตรียมตัวลดหย่อนภาษีต่อไป

1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว และครอบครัว

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีเงินได้ หรือมีรายได้แต่เลือกคำนวณภาษีพร้อมกัน
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี ทั้งนี้สามีสามารถลดหย่อนภาษีได้กรณีภรรยาไม่มีเงินได้
  • ค่าลดหย่อนบุตร สิทธิลดหย่อนภาษีบุตรคนแรกได้ 30,000 บาท สำหรับบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปสามารถลดหย่อนเพิ่มอีก 30,000 บาท แต่จะต้องเป็นบุตรโดยชอบตามกฎหมายสามารถใช้สิทธิ์ได้ไม่จำกัด และบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักได้ไม่เกิน 3 คน (นับเฉพาะที่มีชีวิตอยู่)
  • ค่าลดหย่อนบิดามารดา สำหรับเลี้ยงดูพ่อแม่ และพ่อแม่คู่สมรสที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ให้คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน โดยสิทธิลดหย่อนบิดามารดาใช้ได้ครั้งเดียว เพราะฉะนั้นพ่อแม่ต้องระบุลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองว่าลูกคนไหนจะเป็นคนเลี้ยงดู
  • ค่าอุปการะคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อคน แต่ผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวคนพิการ พร้อมหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ

2. ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

  • ประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาทต่อปี
  • เบี้ยประกันชีวิต สามารถหักได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  • เบี้ยประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 25,000 บาท (จากแต่เดิมได้เพียง 15,000 บาทต่อปี) กรณีทำประกันสุขภาพพ่วงกับประกันชีวิตจะต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  • เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ หักได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี
  • เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรส  หักได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อปี กรณีคู่สมรสไม่มีเงินได้
  • เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ และไม่เกิน 490,000 บาทจะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเอาไปคำนวณภาษี
  • เงินสะสมกองทุน กบข. และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หรือไม่เกิน 500,000 บาท
  • เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ให้ตามที่จ่ายจริงไม่เกินจำนวน 13,200 บาท
  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หักภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตบำนาญ ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และต้องไม่เกิน 200,000 บาท โดยเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และ RMF จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) สิทธิลดหย่อนภาษี 2564 ได้สูงสุด 200,000 บาท

3. ค่าลดหย่อนอสังหาริมทรัพย์

  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย สิทธิลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ซื้อบ้านหลังแรกปี พ.ศ. 2558 ลดหย่อนได้ 20% ของราคาบ้าน โดยนำไปลดหย่อนภาษีได้ 5 ปี (เฉลี่ยปีละ 4%) แต่ที่อยู่อาศัยนั้นราคาไม่เกิน 3,000,000 บาท
  • ซื้อบ้านหลังแรกในปี พ.ศ. 2562 ลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท แต่ที่อยู่อาศัยนั้นราคาไม่เกิน 5,000,000 บาท

4. ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค

  • เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา การกีฬา และเงินบริจาคเพื่อประโยชน์สาธารณะ สามารถหักได้สองเท่า แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถหักได้สองเท่า แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคทั่วไป หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน และเงินบริจาค 2 กลุ่มแรกข้างต้น
  • เงินบริจาคให้พรรคการเมือง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

5. ค่าลดหย่อนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

  • สินค้าการศึกษาและกีฬา หักลดหย่อนภาษีไม่เกิน 15,000 บาท
  • สินค้าหนังสือ ไม่เกิน 15,000 บาท
  • สินค้ากลุ่มช้อปช่วยชาติ สินค้า OTOP ไม่เกิน 15,000 บาท
  • ท่องเที่ยวไทย เที่ยวเมืองหลัก ลดหย่อนภาษีได้ 15,000 บาท
  • ท่องเที่ยวไทย เที่ยวเมืองรอง ลดหย่อนภาษีได้ 20,000 บาท
  • ค่าเสียหายจากพายุปาบึก ค่าซ่อมบ้านไม่เกิน 100,000 บาท และค่าซ่อมรถไม่เกิน 30,000 บาท
  • ค่าเสียหายจากพายุโพดุล พายุคาจิกิ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ค่าซ่อมบ้านไม่เกิน 100,000 บาท และค่าซ่อมรถอื่นๆ ไม่เกิน 30,000 บาท

สิทธิลดหย่อนภาษี 2564 ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

สำหรับบุคคลที่มีรายได้ ให้เตรียมลดหย่อนภาษี 2563 เพื่อยื่นลดหย่อนภาษี 2564 โดยรูปแบบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 แบบด้วยกัน คือ แบบ ภ.ง.ด.90 ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือเงินเดือนที่ได้รับ และแบบ ภ.ง.ด.91 ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมอื่น ซึ่งเราจะต้องเตรียมเอกสารเพื่อยื่นจ่ายภาษี ดังนี้

  • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) 
  • รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา
  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เพื่อกรอกแบบฟอร์มการยื่นจ่ายภาษี

แล้วทำการยื่นภาษีที่ไหน?

ทั้งนี้คุณสามารถยื่นภาษีได้หลายช่องทาง หากเราเตรียมเอกสารทุกอย่างครบแล้ว ให้รีบทำการยื่นจ่ายภาษีให้เร็วที่สุด โดยสามารถยื่นได้หลายช่องทาง ได้แก่

  • ยื่นภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพกร
  • ยื่นภาษีออนไลน์ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th
  • ยื่นผ่านแอปพลิเคชั่น RD Smart Tax แต่ต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรก่อน

หลังจากเช็ก สิทธิลดหย่อนภาษี 2564 เตรียมเอกสารภาษีทุกอย่างครบแล้ว ก็ให้ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่กรมสรรพากร หรือยื่นภาษีออนไลน์ได้เลย ซึ่งค่าลดหย่อนภาษีเหล่านี้จะช่วยให้เราจ่ายภาษีน้อยลง

เห็นไหมครับว่า ซื้อประกันลดหย่อนภาษีได้ด้วย ไม่ว่าจะซื้อให้ตัวเองหรือซื้อให้คุณพ่อคุณแม่ ก็ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี 2564 นี้ได้เลย นอกจากเราจะมีประกันสุขภาพดีๆ ให้ดูแลเมื่อยามเจ็บไข้แล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในอนาคตด้วยนะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.itax.in.th

ประกันสุขภาพ

Sleeping Blogger

Content Writer ผู้ที่รักงานเขียนเป็นชีวิตจิตใจ ชอบเล่าเรื่อง แชร์ความรู้ใหม่ๆ หรือไอเดียง่ายๆ ที่เป็นสไตล์ของตัวเอง อยากให้เพื่อนๆ สนุกไปด้วยกัน!

เชื่อมต่อ กับพวกเรา

รับข่าวสารล่าสุดและข้อเสนอโดยติดตามเราในช่องโปรดของคุณ
LineFacebook
Bolttech
บริษัท โบลท์เทค อินชัวร์นส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ใบอนุญาตินายหน้าประกันภัยหมายเลข
00017/2559
หมายเลขจดทะเบียนนิติบุคคล
0105559056161
รับรองความปลอดภัย และ อยู่ภายใต้ความควบคุม ของ
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
Security & Compliances
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
bolttech © 2021 All Rights Reserved.