Bolttech Insurance Broker
LinePhone

เปลี่ยนผ้าเบรกตอนไหนดี วิธีสังเกตเมื่อผ้าเบรกเสื่อม

เพราะว่า “เบรก” คือหัวใจสำคัญที่ทำให้เราขับขี่ได้อย่างปลอดภัย ดังนั้นเราจะมาตอบข้อสงสัยของหลายคนกันว่า เราควรเปลี่ยนผ้าเบรกตอนไหนดี? และเราจะรู้ได้อย่างไรว่าผ้าเบรกของเราเริ่มเสื่อม เพราะถ้าเราละเลยมองข้ามเรื่องนี้ไปอาจทำให้รถเบรกได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนตามมาครับ

ทำไมต้องเปลี่ยนผ้าเบรก

ผ้าเบรค

เพราะว่าผ้าเบรกเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญของระบบเบรก เมื่อเหยียบเบรกผ้าเบรกจะไปกดทับจานเบรก เพื่อสร้างแรกเสียดทานทำให้ล้อหยุดหมุน ดังนั้นเมื่อเราใช้งานรถไปเรื่อย ๆ การเหยียบเบรกก็ย่อมบ่อยขึ้น ผ้าเบรกจึงเสื่อมสภาพตามการใช้งานนั่นเองครับ และหากผ้าเบรกหมดสภาพ การเบรกก็จะแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น การเบรกตอนลงเขา หรือเบรกขณะถนนลื่น เป็นต้น ทั้งนี้ผ้าเบรกในท้องตลาดจะมีหลายประเภทและหลายเกรด ตามลักษณะการใช้งานของรถ ซึ่งผู้ขับรถทั่วไปอย่างเราใช้ผ้าเบรกเกรดมาตรฐานทั่วไปก็ถือว่าใช้ได้แล้วครับ

วิธีสังเกตว่าผ้าเบรกหมดอายุ

ผ้าเบรคหมดอายุ

หากเราขับรถแล้วเกิดความรู้สึกแบบนี้ แน่นอนครับว่าผ้าเบรกของคุณเริ่มเสื่อมสภาพแล้ว ต้องเปลี่ยนผ้าเบรกโดยด่วนครับ

1. เหยียบเบรกแล้วรู้สึกว่ารถไม่หยุดเหมือนเคย

เหยียบไปเต็มแรงกดกว่าปกติแล้วรถยังไม่มีทีท่าว่าจะชะลอสักที  หรือเหยียบซ้ำๆ แล้วพบว่าเบรกไม่ได้ดั่งใจ 

2. รู้สึกว่าพวงมาลัยสั่นเมื่อเหยียบเบรก

เพราะเมื่อผ้าเบรกเริ่มสึก ผ้าเบรกจะสัมผัสกับจานเบรกไม่สม่ำเสมอ ทำให้เวลาเบรกจะสั่นจนคุณรู้สึกได้ขณะจับพวงมาลัย

3. เบรกแล้วมีเสียงดังผิดปกติ

กรณีเบรกแล้วมีเสียงดังผิดปกติ จะเป็นลักษณะเสียงแหลมๆ เสียดแก้วหู เนื่องจากเมื่อผ้าเบรกเสื่อมและบางลง จนเหล็กที่ยึดจับผ้าเบรกไปเสียดสีกับจานเบรกโดยตรง

4. ตรวจสอบจากน้ำมันเบรก

หากพบว่าน้ำมันเบรกน้อยอย่างผิดปกติ ให้ลองตรวจสอบระบบโดยรอบก่อนว่า น้ำมันเบรกรั่วหรือไม่ หากไม่พบอาจเป็นไปได้ว่าผ้าเบรกเริ่มเสื่อมสภาพ

5. มีไฟสัญญาณเตือนหน้าคอนโซล

เป็นการตรวจสอบที่ง่ายที่สุด ซึ่งหากผ้าเบรกหมดอายุจะมีไฟสัญญาณขึ้นเตือนครับ

6. เช็กว่าคุณเปลี่ยนผ้าเบรกล่าสุดตอนไหน

ซึ่งโดยปกติแล้วผ้าเบรกจะมีอายุการใช้งานประมาณ 50,000 - 60,000 กิโลเมตร ทั้งนี้ผ้าเบรกจะเสื่อมช้าหรือไวนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและเส้นทางขับขี่ด้วย หากเราใช้รถวิ่งมานานหลายหมื่นกิโลเมตร แล้วพบว่ามีอาการแบบ 5 ข้อข้างต้น ก็สันนิษฐานได้เลยครับว่าต้องไปเปลี่ยนผ้าเบรกได้แล้ว

7. เบรกแล้วมีกลิ่นไหม้

สำหรับกรณีเบรกแล้วมีกลิ่นไหม้ อาจมีสาเหตุจากผ้าเบรกไหม้ !! ซึ่งผ้าเบรกที่เริ่มหมดอายุมักไหม้ได้ง่าย กรณีดังกล่าวมักเกิดบ่อยเมื่อขับรถขึ้นลงเนินภูเขาเพราะต้องเหยียบเบรกบ่อยครั้ง หรือไม่ได้ใช้เกียร์ต่ำเวลาลงเขา หากสงสัยว่าผ้าเบรกไหม้ให้รีบเข้าอู่ไปลองเช็คผ้าเบรกโดยด่วนเลยนะครับ 

ส่วนการเปลี่ยนผ้าเบรกนั้นแม้ว่าคุณจะสามารถซื้อมาเปลี่ยนเองได้ แต่เพื่อความชัวร์ Frank อยากให้คุณไปเปลี่ยนกับศูนย์บริการหรืออู่ซ่อมรถที่ได้มาตรฐานครับ เพราะเครื่องมือจะพร้อมกว่าได้มาตรฐานกว่า และทางช่างจะได้ตรวจสอบรถคุณเพิ่มเติมด้วยว่าจะมีอะไรเสียหรือไม่ หรือหากจานเบรกเสื่อมสภาพด้วยก็จะได้ให้ช่างเจียรจานไปพร้อม ๆ กันเลยครับ

เปลี่ยนผ้าเบรกแล้ว ต้องเจียรจานเบรกด้วยหรือไม่

เจียรจานเบรค

ประเด็นนี้มีหลายคนถามเข้ามามาก ซึ่ง Frank ขอแนะนำว่าตอนไปเปลี่ยนผ้าเบรกที่อู่ อาจให้ช่างดูที่จานเบรกด้วยว่ามีรอยสึกหรอหรือไม่ เพราะการเบรกบ่อยๆ อาจทำให้จานเบรกเสื่อมสมรรถภาพได้ครับ หากพบว่าจานเบรกมีรอย คด แตกร้าว หรือเป็นสนิมก็ควรเจียรจนเบรกไปด้วยเลยครับ ซึ่งการเจียรจานเบรกจะช่วยเรื่องความปลอดภัย ให้รถของคุณเบรกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง  

ตอนนี้ผู้อ่านก็คงทราบแล้วนะครับว่าควรเปลี่ยนผ้าเบรกตอนไหนดี อยากให้มองว่าการตรวจสอบและการเปลี่ยนผ้าเบรกนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากเราขับรถเกิดอุบัติเหตุ อย่างน้อยระบบเบรกก็จะช่วยเซฟชีวิตของคุณได้อีกขั้นนึงครับ นอกจากเบรกแล้วการตรวจเช็กสภาพรถส่วนอื่น ๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะฉะนั้นเราต้องตรวจสอบระบบเบรกรถทุกครั้งก่อนขับขี่เพื่อความปลอดภัยด้วยนะครับ และที่ลืมไม่ได้ คือต้องทำประกันภัยรถยนต์ไว้คุ้มครองด้วยนะครับ จะทำประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2/2+ หรือ 3/3+ ก็เลือกได้ทุกรุ่น ทุกชั้นเลยนะครับ

ประกันรถยนต์

veerasak p

เชื่อมต่อ กับพวกเรา

รับข่าวสารล่าสุดและข้อเสนอโดยติดตามเราในช่องโปรดของคุณ
LineFacebook
Bolttech
บริษัท โบลท์เทค อินชัวร์นส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ใบอนุญาตินายหน้าประกันภัยหมายเลข
00017/2559
หมายเลขจดทะเบียนนิติบุคคล
0105559056161
รับรองความปลอดภัย และ อยู่ภายใต้ความควบคุม ของ
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
Security & Compliances
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
bolttech © 2021 All Rights Reserved.