Bolttech Insurance Broker
LinePhone

เมื่อรถน้ำเข้าตอนฝนตกหนักทำอย่างไรดี?

ด้วยสภาพอากาศที่แปรปรวนของฤดูฝนที่มีฝนตกทุกวัน ทำให้เกิดน้ำท่วมไปทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งนอกจากจะทำให้รถติดแบบดูหนังจบเป็นเรื่องๆ ได้แล้ว หลายคนอาจจะเจอปัญหารถน้ำเข้าหรือน้ำรั่วซึมเข้ามาในรถด้วย หรือบางคนเจอน้ำท่วมรถถึงห้องเครื่องเต็มๆ จนต้องเข็นเข้าข้างทาง ส่วนเทคนิคในการขับรถหน้าฝนตามระดับความแปรปรวนของฝนนั้นเพื่อนๆ ลองอ่านเพิ่มดูนะ หรือบางคนสาหัสกว่านั้นคือท่วมถึงห้องเครื่องเต็มๆ จนต้องเข็นเข้าข้างทางซึ่ง Frank เองก็เห็นในช่วงนี้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะแยกหลักของกรุงเทพมาดูกัน เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นแล้ว เราจะรับมืออย่างไรดี?
when-your-car-flood-while-traffic-on-the-heavy-rain-how-to-solve-it

ทำไมน้ำเข้ารถได้?

เริ่มจากสาเหตุกันก่อนเลย ว่าทำไมอยู่ๆ น้ำถึงซึมเข้ามาในรถของเราได้ สาเหตุหลักๆ แล้วเกิดจาก

  • จุกยางระบายน้ำที่อยู่ที่พื้นรถหลุดหายไป

    ซึ่งเจ้าจุกยางที่ว่านี้มีอยู่ในรถทุกยี่ห้อขึ้นอยู่ว่าเป็นยางหรือเป็นพลาสติดที่ซิลไว้ แล้วทำรูระบายน้ำนี้มีไว้ทำไม? ก็เพื่อเวลาที่เราจำเป็นต้องขับรถลุยน้ำท่วมสูงๆ รถของเราจะได้ไม่ลอยน้ำ เพราะพื้นรถจะเตี้ยเมื่อมีน้ำท่วมเข้ามาจำเป็นต้องให้ล้อแตะพื้นถนนไว้ เราจะได้ยังสามารถควบทิศทางของรถได้ โดยเจ้าจุกยางที่ว่านี้สามารถหลุดหายไปได้จากการขับขี่ เมื่อจุกยางระบายน้ำหายไปก็เป็นทางให้น้ำไหลเข้ามาได้นั่นเอง

plastic-bung-in-the-car

นี่คือหน้าตาของเจ้าจุกยางที่ว่าครับ

plastic-bung-in-the-car

ที่วงกลมสีแดงนั่นล่ะครับคือตำแหน่งที่เป็นรูระบายน้ำออก

  • ยางขอบประตูปิดไม่สนิท

    อาการคล้ายแบบแรกครับ คือเมื่อเราขับผ่านน้ำท่วมแล้วรถเราจะกลายสภาพเป็นตู้ปลาเล็กๆ มีน้ำซึมเข้ามาตรงที่วางเท้า ส่วนการตรวจสอบว่าเมื่อไหร่ยางขอบประตูเสื่อมนั้น นอกจากการสังเกตดูเนื้อยางด้วยตาเปล่าแล้ว เวลาขับรถเราจะมีเสียงลมจากภายนอกรถดังเข้ามาด้วย เมื่อเราปิดประตูรถให้ลองหากระดาษหรือซองจดหมายก็ได้มาสอดที่ขอบประตูดูว่าเลื่อนกระดาษไปมาได้ไหม? ถ้าเลื่อนไปมาได้อย่างอิสระเสรี ก็ไปเปลี่ยนขอบยางดีกว่า

rubber-rim-at-car-door

ลูกศรสีแดงคือยางขอบประตู

  • พลาสติกซุ้มล้อแตกรั่ว

    เมื่อเราขับผ่านน้ำที่รอระบายสูงหรือน้ำท่วม น้ำก็จะไหลมาที่วางเท้าในรถของเรา ส่วนการแก้ไขเรื่องนี้นอกจากการซ่อมแบบ DIY ลองหาตัวอย่างจากกระทู้นี้ได้ครับ หรือไม่งั้นต้องปศูนย์บริการหรืออู่นะครับ งานช้างทีเดียว เพราะต้องหารอยแตกให้เจอ  อุดรอยแตกที่ว่า แล้วค่อยกำจัดน้ำที่ขังอยู่ในรถกันอีกที

break-hold-on-wheel-arch

วงกลมสีแดง คือ รอยแตกที่ซุ้มล้อรถยนต์

  • ท่อน้ำทิ้งแอร์รั่ว

    แบบสุดท้ายไม่ต้องไปลุยน้ำรอระบายสูงหรือน้ำท่วมมา ก็จะมีน้ำขังอยู่ในรถยนต์เนื่องจากม่อน้ำทิ้งแอร์หลุดอยู่แล้ว ถ้าเราสังเกตไม่เห็นโดยเฉพาะพรมปูพื้นแบบกระดมกลิ่นอับในรถจะเป็นตัวบอกเราได้เช่นเดียวกัน มักจะมีน้ำซึมๆ ที่พื้นเบาะด้านหน้ามาแสดงตัวให้เราเห็นถ้าเป็นพรมแบบปกติเมื่อเราวางเท้าลงไปเย็นสบายเลย  

air-condition-drain-tube

ที่วงกลมสีแดง คือ ท่อน้ำทิ้งแอร์ในรถยนต์

อาการของน้ำเข้ารถ เราจะรู้สึกว่าพรมปูพื้นในรถมีน้ำแฉะ ๆ เวลาที่วางเท้า หรือบางคันอาจเริ่มมีกลิ่นเหม็นอับโชยมาเบาๆ แบบเห็นชัดเจนคือ น้ำขังอยู่ในรถให้เราเห็นกับตาว่าน้ำมาหาเราถึงในรถเรียบร้อย หรือในบางกรณีที่เกิดจากรอยแตกที่ซุ้มล้อเมื่อเราฉีดน้ำตอนล้างรถไปโดนรอยแตกที่ว่าน้ำก็จะมาเต็มๆ จากทางด้านข้าง (ให้เราเอาพรมปูพื้นออกจะสังเกตรอยเปียกได้ง่ายกว่า) หรือบางคันกว่าที่เราจะรู้ว่ารถน้ำเข้า เชื้อราก็มาเยือนแล้ว ซึ่งงานนี้เป็นมหากาพย์เลยครับ

วิธีแก้ไขรถน้ำเข้า

  • แบบ DIY

นำพรมปูพื้นออกมาเลยครับ แล้วเอาพรมปูพื้นไปผึ่งแดดให้แห้งก่อนเลย แล้วเปิดประกตูรถทั้ง 4 บานออก ไขกระจกลงให้หมด เอารถไปจอดตากแดดจัดซัก 1-2 วัน เพื่อไล่ความชื้นออกไป  แต่ถ้าอากาศมืดครึ้มไม่มีแดดก็ต้องใช้ที่เป่าลมร้อนช่วยเป่าแล้วล่ะครับ อ่อ! ระวังพรมไหม้ด้วยนะครับอย่าเป่านานเกินไป

  • แบบอาศัยผู้เชี่ยวชาญ

ก็เอารถไปที่ร้านซักเบาะหรือตาม Car Care ได้ทุกที่แล้ว ถามแพ็กเกจการซักพรม ซักเบาะเลยครับ ช่วงราคาก็แตกต่างกันไป 2000-3000 กว่าๆ บาทตามการเลือกของเราหรือตามอาการมาก-น้อย แต่มันดีต่อสุขภาพในระยะยาวนะ ดีกว่ามาเสี่ยงป่วยในภายหลัง

น้ำเข้ารถและความคุ้มครองของประกันรถยนต์

ส่วนความคุ้มครองของประกันรถยนต์นั้น ในฐานะของผู้รู้ด้านประกันรถอย่าง Frank ขออธิบายว่า ถ้าเราขับรถไปยังที่ที่เรารู้ว่าน้ำท่วมอยู่แล้วนั้นจะถือว่าเป็นการใช้รถโดยประมาทนะครับ คือก็รู้อยู่แล้วว่าน้ำกำลังท่วมแล้วยังดันทุรังขับไปอีก ประกันรถยนต์ไม่คุ้มครอง นะครับ
ซึ่งมันต่างจากการขับรถไปตามทางดีๆ เกิดรถติด แล้วน้ำก็รอระบายจนสูงขึ้นเรื่อยๆ จนไหลทะลักเข้ามาในรถเราจนกลายเป็นตู้ปลาน้อยๆ ที่เคลื่อนที่ได้ไปในที่สุด แบบนี้ติดต่อบริษัทประกันโดยด่วนครับทั้งประกันชั้น 1 และประกันชั้น 2+ ซึ่งความเสียหายที่เรามักจะเจอกัน คือ

  • ความเสียหายภายในรถ

    ก็คือการซักพรม ซักเบาะในรถเรานั่นเอง ให้ถ่ายรูปความเสียหายก่อนไป Car Care แล้วเก็บใบเสร็จมาให้ครบถ้วนเพื่อเบิกจากบริษัทประกัน

  • ความเสียหายของระบบไฟฟ้าในรถ

    ซึ่งรถยนต์รุ่นใหม่ระบบควบคุมในรถจะเป็นไฟฟ้าซะมาก เราจะเห็นสัญญาณไฟเตือนขึ้นที่แผงควบคุมเลย (มักจะเป็นรูปแบตเตอรี่นะครับ) อ่านเพิ่มเรื่องแผงควบคุมหน้ารถได้นะครับ ซึ่งระบบไฟที่ว่านี้จะควบคุมโดยกล่องควบคุมระบบไฟฟ้า เราก็แจ้งเคลมกับบริษัทประกันได้เลยครับ

อีกเรื่องที่อยากจะฝากไว้สำหรับการขับรถหน้าฝน ขับขี่ให้ปลอดภัยได้ด้วยการลดความเร็วลงจากอัตราปกติ  ครับ เพราะถ้าเราขับมาเร็วแล้วรถลื่นๆ ระยะเบรกก็ต้องมีมากขึ้นเพื่อให้เบรกอยู่ หรือในถนนบางเส้นมีแอ่งน้ำขัง ถ้าเราขับมาเร็วแล้วแตะเบรกกระทันหันเกิดรถเหินน้ำได้นะครับ ลอยข้ามเลนส์แบบควบคุมไม่ได้เลย ซึ่งมันน่ากลัวมากๆ เลยล่ะครับ
ขับขี่แบบมีสติ ความเร็วเหมาะสมที่เราควบคุมได้ดีที่สุด หาเพลงมันส์ๆ ฟังไประหว่างทางก็สนุกดี หรือหากต้องการดูแลรถให้สะอาดเหมือนใหม่ท้าฝน สำหรับคนมีรถสีขาว แฟรงค์ขอแนะนำ  7 เทคนิคดูแลรถสีขาวไม่ให้เหลือง ทำตามได้เลยครับ 
สรุปให้นำพรมปูพื้นออกมาตากแดดให้แห้ง จอดรถตากแดดจัดๆ 1-2 วัน โดยที่เปิดประตูและหน้าต่างรถค้างไว้ เพื่อป้องกันเชื้อราและกลิ่นเหม็นอับในรถ หรืออยากดูแลรถสีขาว

  • ถ้ารถยังไม่แห้งสนิทหรือยังมีกลิ่นเหม็นอยู่ ให้ไปร้านดูแลรถยนต์ (Car Care) เพื่อล้างพรม ล้างเบาะนั่งและอบให้แห้ง
  • รถน้ำเข้าหรือน้ำซึมที่พื้นรถเกิดได้จาก จุกยางระบายน้ำที่พื้นรถหลุด, ยางขอบประตูปิดไม่สนิท, พลาสติกซุ้มล้อแตกรั่วหรือท่อน้ำทิ้งแอร์รั่ว ทำให้เกิดน้ำซึมจากนอกรถเข้ามาในตัวรถได้ร์
  • สาเหตุที่ต้องมีจุกยางระบายน้ำใต้รถเก๋ง เพื่อเวลาน้ำท่วมสูงรถจะได้ไม่ลอยไปตามน้ำทำให้เรายังสามารถควบคุมรถได้เพราะล้อที่ยังติดอยู่ที่พื้น
  • น้ำเข้ารถประกันชั้น 1 และ 2+ คุ้มครองนะครับ

ประกันรถยนต์

frank.co.th

เชื่อมต่อ กับพวกเรา

รับข่าวสารล่าสุดและข้อเสนอโดยติดตามเราในช่องโปรดของคุณ
LineFacebook
Bolttech
บริษัท โบลท์เทค อินชัวร์นส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ใบอนุญาตินายหน้าประกันภัยหมายเลข
00017/2559
หมายเลขจดทะเบียนนิติบุคคล
0105559056161
รับรองความปลอดภัย และ อยู่ภายใต้ความควบคุม ของ
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
Security & Compliances
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
bolttech © 2021 All Rights Reserved.